วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย

หลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย (พระกรรมฐาน)
ในปีพศ. ๒๕๑๒ นสพ.รายวันหลายฉบับเสนอข่าววิศวกรชาวเกาหลี ที่มาคุมงานสร้างทางสายลำปาง ถูกลอบยิงแต่ไม่เข้าปรากฎว่าในตัวของเขานั้นปราศจากพระเครื่องของหลวงปู่หลวงพ่อใดๆ มีเพียงแก้วโป่งข่าม  อ.เถิน อยู่เม็ดเดียว ข่าวนี้ทำให้คนทั่วประเทศรู้จัก อ.เถิน ในฐานะเป็นดินแดนแห่งโป่งข่ามอันศักด์สิทธิ์ ขณะเดียวกันก่อนช่วงเวลานั้น แถบบ้านท่าอุดมอันไม่ไกลจากแหล่งโป่งข่ามเท่าใดนัก ก็มีพระอริยสงฆ์รูปหนึ่ง ได้ละทิ้งความสะดวกสบาย นั่งบำเพ็ญฌาณอยู่ในป่าลึกจนถึงปัจจุบันนานกว่า ๖๐ ปี ทำให้เกิดอภิญญาจิตอย่างสูงไม่แตกต่างใดๆกับหลวงพ่อเกษม เขมโก เทพเจ้าองค์เก่าของชาวลำปาง พระอริยสงฆ์รูปดังกล่าวนี้คือ หลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย อีกหนึ่งในความศักดิ์สิทธิ์ ของ อ.เถิน และเทพเจ้าองค์ใหม่จ.ลำปาง
ประวัติหลวงปู่ครูบาครอง
หลวงปู่ครูบาครองปัจจุบัน อายุ๘๙ ปี๖๙พรรษา(นับเฉพาะบวชพระ)เกิดวันที่ ๓ สค.๒๔๖๓เป็นลูกคนโต ของพ่อซาว แม่น้อย จากบุตรทั้งหมด๔คน บวชเณรตอนอายุ๑๖โดยพระครูพุทธวงศ์(ก๋วน) เกจิดังวัดแม่ปะหลวง ตุ๊ลุงของท่านเป็นผู้บรรพชาและบวชพระเมื่ออายุ๒๐ปีโดยพระครูรักขิตคุณ(ต๋า) วัดอุมลอง เกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งของ อ.เถิน เป็นพระอุปํชฌาย์ จำพรรษา ณ.วัดท่ามะเกว๋น เมื่อท่านบวชเณรแล้วได้ศึกษาอักขระล้านนาและศึกษาการปฏิบัติเบื้องต้นกับตุ๊ ลุงของท่าน จนบวชเป็นพระแล้วก็เริ่มศึกษากับพระอุปํชฌาย์และหนานหลายคนหลังจากนั้นจึง ออกเดินรุกขมูลร่ำเรียนไปทั่วภาคเหนือ จนเกือบ๑๐พรรษาจึงกลับมายังบ้านท่าอุดม โดยปักกลดอยู่ในป่าลึกจากวัดเข้าไปมาก พอพี่น้องลูกหลานท่านทราบถึงการกลับมาของหลวงปู่ครูบาครองก็เกิดความปิติ ดีใจรีบเดินทางไปนิมนต์ท่านกลับเข้าวัดท่ามะเกว๋น แต่ท่านปฏิเสธเนื่องจากไม่ต้องการพบความวุ่นวายของโลกอีกต่อไป อยากอยู่บำเพ็ญฌานสมาบัติโดยลำพังเพียงรูปเดียวในป่านี้
ทันทีที่ลูกหลานทราบวัตถุประสงค์ของหลวงปู่ฯ ก็ได้ร่วมกันปลูกเพิงพักให้ท่านได้ปฏิบัติธรรมตามเจตนา หลวงปู่ครูบาครองจึงได้อยู่ป่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน รวมกว่า ๖๐ปี

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อมูลลึกๆ การสร้างหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

พระรูปหล่อ พระกรรมฐาน หลวงพ่อเงิน บางคลาน จ.พิจิตร จัดเป็นพระรูปหล่อเกจิ องค์แรกสุด ได้รับความนิยมสูงสุดราคาแพงที่สุด และประวัติการสร้างที่คลุมเครือสับสนมากที่สุด
ในวงการสากลและสื่อพระเครื่องส่วนกลาง ในระบอบพุทธพาณิชย์ ยอมรับกันว่า
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สร้างขึ้นเป็นชุดแรก ที่ บางคลาน พิจิตร
ตามด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยม ซึ่งยอมรับกันว่า สร้างโดยช่างบ้านช่างหล่อ และมาทำพิธีหล่อที่วัดชนะสงคราม (ข้อมูลจาก อ.เล็ก รูปหล่อ)
ต่อจากนั้น(พระกรรมฐาน) เป็นเหรียญจอบเล็ก สร้างโดย คุณยายวัณ ช่างฝีมือดีแห่งบ้านช่างหล่อ ส่วนเหรียญจอบใหญ่ เป็นพระโรงงาน ที่โรงงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อเงิน สร้างมาให้วัด เพื่อให้วัดออกเช่าบูชาชดเชยการขาดทุนจากการ จ้างหล่อรูปเหมือน ( บางคนเรียกว่ารุ่นล้างหนี้ )
ตามข้อมูล ยอมรับกันว่า พระเหล่านั้น มีการสร้างเพียงอย่างละครั้งเดียว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มีเสริมนอกจากนั้น สื่อวงการพระเครื่อง มักจะเน้นการเล่าประวัติอภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน โดยละเอียดยิบ มีคำพูดโต้ตอบราวกับหนังกำลังภายใน แต่ในทางตรงกันข้าม กลับละเลย ประวัติ การจัดสร้างพระเครื่อง ของ หลวงพ่อเงิน
นั่นอาจจะเป็นเพราะการหาข้อยุติ ไม่ได้ประการหนึ่ง และ จะยิ่งสร้างความสับสนคลุมเครือ ให้เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง (พระกรรมฐาน)
โดยความสนใจส่วนตัว ผมพยายาม ติดตามสืบเสาะ ประวัติการจัดสร้าง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน และโดยส่วนตัว เห็นว่า หนังสือของ อ. ชัยรัตน์ โมไนยพงศ์ แห่งค่ายลานโพธิ์ เป็นหนังสือที่ น่าเชื่อถือ น่าสนใจมากที่สุด เพราะท่านได้ใช้เวลาในการ สืบเสาะ ค้นคว้าประวัติและวัถุมงคลของหลวงพ่อเงิน ทั้งจากหลักฐานเอกสารและการลงพื้นที่) สัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ นับแต่พ.ศ. 2518-2526 จึงตีพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่ม และมีการปรับปรุงใหม่ ในปี 2535
อ่านต่อได้ที่ : http://www.prakammatanputtoe.com/board/board.php?id=000160
ที่มา : http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=7&q_id=8193&PHPSESSID=8c66862fad6fae79a

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระท่ากระดาน

พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกสร้างในสมัยอู่ทอง คือประมาณปี พ.ศ. 1800 ถึง พ.ศ. 2031 เป็นพระเครื่องที่มีปฎิมากรรมแบบ แบน นูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ และจะเน้นส่วนนูนสูงและส่วนลึก พระท่ากระดานเป็นพระปฏิมาปางวิชัย ขัดราบมีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้าง หนายาวจรดลงมา มีฐานหนาซึ่งเรียกว่าฐานสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึกลักษณะคล้ายยิ้มแบบเครียด ๆ เป็นลักษณะแบบอู่ทองเกศยาวทุกองค์และตรงขึ้นไป เกี่ยวกับอายุมากและอยู่ใต้ดินถูกทับถมเลยทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบงอาจ หักชำรุด หรือคดงอ เลยทำให้ปลายเกศของพระท่ากระดานมีหลายลักษณะ คือเกศยาวตรง เลยเรียกว่า “พิมพ์เกศตรง” ส่วนเกศที่คดไปคดมาเพราะเกิดจากการบิดงอหรือถูกทับบิดไปเลยเรียกว่าพิมพ์ “เกศคด” องค์ที่เกศหักในกรุ เพราะชำรุดตามอายุ ทำให้เกศเหลือสั้นเลยเรียกว่าพิมพ์ “เกศบัวตูม” แต่ความจริงแล้วเป็นพระที่สร้างเกศยาวตรงตามแบบองค์ที่สมบูรณ์มาก ๆ นั้นเอง มือของพระท่ากระดานจะมีลักษณะหนาเป็นเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง
พระท่ากระดานเป็นพระที่สร้างให้มีใบหน้าชัดเจนทั้งตา ทั้งจมูกปากและหู ประกอบกับพระท่ากระดานทำจากเนื้อตะกั่ว เมื่อมีอายุนานเข้าตะกั่วจะเกิดสนิมแดงส่วนที่นูนเด่นจะมีลักษณะแดงเข้ม เลยทำให้พระท่ากระดานบางองค์ เกิดมีสนิมแดงเข้มที่บริเวณลูกตาทั้งสองข้างเพราะเป็นส่วนที่นูนมาก เลยทำให้ดูคล้ายกับว่าพระท่ากระดานจะมีตาเป็นสีแดงเข้ม จนทำให้บางคนเข้าใจว่า พระท่ากระดานต้องตาแดงและเกศคดจนบางท่านเรียกติดปากว่า พระท่ากระดานต้องเกศคดตาแดง” ซึ่งความจริงเกิดขึ้นบางองค์เท่านั้น และเป็นเพราะสนิมของวัสดุที่นำมาทำพระท่ากระดานนั่นเอง พระท่ากระดานเป็น พระที่สร้างในยุคอู่ทองสันนิษฐานกันว่าผู้ที่สร้างพระท่ากระดานก็คือผู้เรืองเวทย์ซึ่งเป็นฆราวาสมิใช่พระสงฆ์หรือผู้ที่เราเรียกกัน ว่า “ฤาษี” ในยุคโบราณ เพราะเป็นการสันนิษฐานจากแผ่นจารึกลานทองของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและของสุ โขทัยซึ่งมีคาบเกี่ยวกับอู่ทองคือจารึกแผ่นลานเงินของวัดบรมธาตุกำแพงเพชร กล่าวถึงการสร้างพระเครื่อง ของบรรดาพระฤาษีทั้งหลาย 11 ตนที่สร้างพระเครื่องมีฤาษีอยู่ 3 ตน ที่ถือเป็นใหญ่ ก็คือ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว และก็ันนิษฐานกันว่าผู้ที่สร้างพระท่ากระดานก็คือ ฤาษีตาไฟ โดยการอาราธนาของเจ้าเมือง “ท่ากระดาน” เมื่อสร้างแล้วก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญ ในเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่าในยุคนั้น กำเนิดของพระท่ากระดาน ครั้งแรกได้ถูกค้นพบที่ “กรุถ้ำลั่นทม” เป็นแห่งแรก กรุนี้อยู่ห่าง จากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 70 ก.ม. อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำแควใหญ่ มิได้อยู่ในเขตตำบลท่ากระดานพระจากกรุนี้พบในบริเวณถ้ำ บริเวณหน้าถ้ำมีเจดีย์โบราณอยู่หลายองค์ พระที่ถูกค้นพบมีอยู่ด้วยกันหลายร้อยองค์ และพบแม่พิมพ์ของพระท่ากระดานพร้อมกับเศษตะกั่วที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่าบริเวณถ้ำลั่นทมนี้คือสถานที่สร้างพระท่ากระดาน และเป็นที่อยู่ของฤาษีผู้สร้างพระท่ากระดานในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2495 – 2496 ได้มีการขุดพบพระท่ากระดานอีก กรุวัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง และวัดใต้ (วัดล่าง) ที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ พระที่ถูกค้นพบมีมากพอสมควร คือมีจำนวนรวมกันและประมาณหลายร้อยองค์ พระที่ค้นพบในบริเวณสามวัดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีการปิดทองทุกองค์และ ด้านหลังจะเป็นร่องหรือแอ่งลึกแทบทุกองค์ พระจะมีสนิมแดงเข้มดูสวยงาม พระที่ถูกค้นพบในยุคนั้นที่ถือว่าสวยและสมบูรณ์มากก็คือวัดกลาง ซึ่งมีผู้เรียกวัดนี้ว่า “วัดท่ากระดาน” นั้น เองในเวลาต่อมาวัดเหนือหรือวัดบนและวัดใต้หรือวัดล่างได้ถูกน้ำกัดเซาะทำ ให้ตลิ่งพังวัดทั้งสองจึงพังทลายลงสู่ลำน้ำทั้งสองวัดเพราะบริเวณวัดตั้ง อยู่ริมน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือวัดกลางหรือวัดท่ากระดานเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการขุดค้นพบพระท่ากระดานอีก ที่บริเวณวัด “นาสวน” (วัดต้นโพธิ์) อยู่เหนือที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์เล็กน้อย เป็นบริเวณพระอารามร้าง ในการพบในครั้งนั้นได้พระท่ากระดานจำนวนไม่มากนักคือจำนวนไม่กี่สิบองค์ วัด ที่ได้กล่าวในข้างต้นนั้น ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ อาจกล่าวได้ว่าพระเหล่านั้น นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่าพระกรุเก่า หรือกรุศรีสวัสดิ์ ทั้งสิ้น นอกเหนือจากการขุดค้นพบบริเวณอำเภอศรี สวัสดิ์ ยังมีการขุดค้นพบที่บริเวณ “วัดหนองบัว” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรีอีก พบจากการปฏิสังขรณ์พระอารามได้พระท่ากระดานประมาณ 90 องค์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกเป็นจำนวนมากที่ “วัดเหนือ” (วัดเทวะสังฆาราม) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยทางวัดได้ทำการเจาะพระเจดีย์องค์ประธานเพื่อที่จะบรรจุพระ 25 พุทธศตวรรษ ก็พบไหโบราณซึ่งบรรจุพระท่ากระดานและได้พบพระอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม พระท่ากระดานหูช้าง และพระอื่น ๆ อีกมาก วัดเทวะสังฆาราม (วัดเหนือ) ถือว่าเป็นวัดที่พบพระท่ากระดานที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะพระจะอยู่ในไหและเป็นพระที่สมบูรณ์มากที่สุด ใน ปี พ.ศ. 2507 ได้มีการพบพระท่ากระดานอีกมากที่ “วัดท่าเสา” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี นอกจากนั้นยังค้นพบพระท่ากระดานน้อย (พระท่าเสา) อีกจำนวนหนึ่งที่เข้าใจว่าเป็นพระยุคหลังกว่าพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการค้นพบพระท่ากระดานอีกบริเวณตำบลลาดหญ้าอีก แถวบริเวณใกล้ ๆ กับค่ายทหารกองพลที่ 9 พระที่ค้นพบในครั้งนั้นถือว่าสมบูรณ์มากแต่สนิมของพระท่ากระดานจะมีไขขาว คลุมเกือบทุกองค์และจะมีทองกรุปิดเกือบทุกองค์ จุดเด่นของพระกรุนี้จะมีเกศยาวกว่าทุกกรุ พระที่พบมีประมาร 50 กว่าองค์เท่านั้น ในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการพบพระท่ากระดานได้ในถ้ำเขตอำเภอผาภูมิ พระที่พบจะมีลักษณะผิวพระจะไม่เรียบมีผิวขรุขระเกิดจากการพองของไขสนิม เพราะพระที่มีอยู่ในถ้ำจะชำรุดโดยเฉพาะคอจะหักเสียเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่ สมบูรณ์มีไม่เกิน 20 องค์ ถือว่าเป็นพระที่เป็นการพบครั้งล่าสุด
ถ้าจะแยกเป็นกรุที่พบพระท่ากระดาน ก็พอจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. กรุถ้ำลั่นทม ปี พ.ศ. 2497 พบพระประมาณ 200 องค์
2. กรุเหนือ (กรุวัดบน) ปี พ.ศ. 2495 – 2496 พบพระประมาณ 300 – 400 องค์
3. กรุกลาง (วัดท่ากระดาน) ประมาณ 100 กว่าองค์ที่ ปี พ.ศ. 2495 – 2496
4. กรุใต้ (กรุวัดล่าง) ปี พ.ศ. 2495 – 2496 พบพระไม่ถึง 100 องค์
5. กรุวัดนาสวน (วัดต้นโพธิ์) ปี พ.ศ. 2506 ได้พบพระประมาณ 40 องค์
6. กรุวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ปี พ.ศ. 2497 ได้พบพระประมาณ 90 องค์
7. กรุวัดเหนือ (วัดเทวะสังฆาราม) ปี พ.ศ. 2506 พบพระท่ากระดานอยู่ในไห 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม 200 องค์ พระโคนสมอ 100 องค์ พระปรุหนัง 20 องค์
8. วัดท่าเสา ปี พ.ศ. 2507 ได้พระท่ากระดานไม่กี่สิบองค์ พระท่ากระดานน้อยจำนวนหลายร้อยองค์
9. บริเวณตำบลลาดหญ้าใกล้ ๆ กับ ค่ายทหารกองพลฯ ปี พ.ศ. 2537 ประมาณ 50 กว่าองค์
10 .บริเวณถ้ำในเขตอำเภอทองผาภูมิ ปี พ.ศ. 2541 พบพระประมาณ 80 องค์ ชำรุดเสียส่วนใหญ่ พระท่ากระดานถ้าไม่จำแนกเป็นกรุใหญ่ ๆ ได้ 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ “กรุเก่า” ก็คือพระที่ถูกค้นพบที่ถ้ำลั่นทมใน ปี พ.ศ. 2497 และค้นพบในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์คือ กรุบน, กรุกลาง, กรุล่างในปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2496 และกรุวัดหนองบัวปี พ.ศ. 2497 “กรุใหม่” ก็คือกรุที่ถูกค้นพบที่วัดเหนือ (เทวะสังฆาราม), กรุนาสวน, กรุท่าเสา, กรุลาดหญ้า และกรุในถ้ำอำเภอทองผาภูมิ พระท่ากระดานนอกจากจะเป็นพระชั้น หนึ่ง ของจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังถูกจัดอยู่ในชุดเบญจยอดขุนพลซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ของพระเนื้อโลหะด้วย ถือว่าเป็นพระที่มีราคาเช่าหาสูง และพุทธคุณนั้นเปี่ยมล้นไปด้วยความขลังไม่ว่าทางแคล้วคลาดหรือคงกระพัน ชาตรีจนมีผู้กล่าวขานกันว่าพระท่ากระดานนั้นคือ “ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลองเลยทีเดียว” พระท่ากระดานไม่ว่าจะเป็น “พระกรุเก่า” หรือ “พระกรุใหม่” ถือว่าสร้างพร้อมกันต่างกันเพียงสถานที่พบและระยะเวลาการขุดค้นพบเท่านั้น เอง

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระร่วงหลังรางปืน

พระร่วงหลังรางปืน พระร่วงหลังรางปืนสนิมแดง แตกกรุออกมาประมาณไม่น้อยกว่า 48 ปี จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่จำนวนไม่เกิน 200 องค์ มีจำนวนกว่าครึ่งที่ชำรุดเสียพระร่วงหลังรางปืนเป็นศิลปะเขมรยุคปลายซึ่งอยู่ในราว ค.ส. ที่ 13 เข้าใจว่าเมื่อขอมเรืองอำนาจได้ปกครองพื้นที่ในบริเวณนั้นจึงได้สร้างพระ พิมพ์ไว้ก็คือพระร่วงพิมพ์นี้นี่เอง พระพุทธลักษณะเป็นพระยืนปรางประทานพรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ลักษณะของยอดซุ้มเป็นลายกนกแบบซุ้มกระจังเรือนแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นลักษณะพิเศษคือมีร่องกดลึกลงไปทำให้ด้านหลังเป็นร่อง ยาวตามองค์พระ นักนิยมพระเครื่องในสมัยก่อนมักเรียกว่าพระร่วงหลังกาบหมาก ต่อมาได้มีผู้นำพระพิมพ์นี้ไปใช้ทำให้แคล้วคลาดจากภยันตรายจากปืน แต่มีผู้สันทัดอีกกลุ่มหนึ่งอ้างว่าเพราะด้านหลังองค์พระที่เป็นร่องกาบ หมากนั้นลักษณะคล้ายร่องปืนแก็ปเลยเรียกกันว่า “หลังรางปืน”
พระร่วงหลังรางปืน จัดอยู่ในชุดพระยอดขุนพลหนึ่งในห้าอันดับยอดเยี่ยมของพระประเภทเนื้อชิน ซึ่งหาได้ยากยิ่งในกระบวนพระชุดยอดขุนพลทั้งหมด ส่วนราคาเช่าหาจัดว่าสูงที่สุดในประเภทนี้ ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นถือว่าครบเครื่อง คือ อำนาจ แคล้วคลาด โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี
พระร่วงหลังรางปืน นอกจากจะจัดให้เป็นจักพรรดิ์แห่งพระเนื้อชินแล้ว ยังเป็นพระที่หายากยิ่งเพราะฉะนั้นของเทียมเลียนแบบจึงมีมากมายนัก ถ้าหากท่านใดที่มีของแท้อยู่ในมือต้องหวงแหนมากที่สุดเพราะท่านมีหนึ่งใน สองร้อยองค์ของพระทั้งหมด
พระร่วงหลังรางปืน นั้นสร้างด้วยวัสดุเป็นเนื้อตะกั่วส่วนใหญ่ เนื้อชินมีน้อยมาก แต่ไม่ปรากฏว่าพบเนื้อดินเลย ผิวขององค์พระบางองค์จะสีแดงเข้ม บางองค์จะออกสีลูกหว้า แต่ลักษณะพิเศษจะมีไขมากกว่าพระร่วงกรุอื่น ๆ ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 8 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม.
พระร่วงหลังรางปืนมีทั้งหมดด้วยกัน 5 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ใหญ่ฐานสูง
2. พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย
3. พิมพ์แก้มปะ
4. พิมพ์หน้าหนุ่ม
5. พิมพ์เล็ก

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระหูยาน

พระหูยาน ถ้าพูดถึงพระพิมพ์นั่งของเมืองลพบุรีแล้ว อันดับหนึ่งต้องยกให้พระหูยานเมืองลพบุรี ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนอันดับหนึ่งก็ต้องพะร่วงหลังลายผ้า พระหูยานต้นกำเนิดอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเราเรียกว่า “พระกรุเก่า” พระที่แตกออกมาครั้งแรกนั้นจะมีผิวสีดำมีปรอทขาวจับอยู่ตามซอกขององค์พระ เล็กน้อย ถ้าผ่านการใช้ผิวปรอทก็จะหายไป ต่อมาก็มีแตกออกมาบ้างแต่ก็ไม่มาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 ก็มีแตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณเจดีย์องค์เล็กหน้าองค์พระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเราเรียกกันว่า “กรุใหม่”
มีบางท่านสันนิษฐานว่าพระหูยานกรุเก่า กับพระหูยานกรุใหม่นั้นสร้างคนละครั้งคือ กรุเก่าสร้างก่อน กรุใหม่สร้างทีหลัง แต่กระผมคิดว่า ถ้าพระสร้างกันคนละครั้งนั้น พิมพ์กับตำหนิต่าง ๆ ของพระจะต้องแตกต่างกันไป แต่นี่พระพระกรุเก่ากับกรุใหม่เป็นพระบล๊อคเดียวกันทุกอย่าง และจากสถานที่พบแตกต่างกันได้ บางท่านอาจค้านว่า คงจะนำแม่พิมพ์เก่ามาทำพระใหม่นั้นก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะถ้าแม่พิมพ์พระเป็นเนื้อสัมฤทธิ์แล้วเมื่อทิ้งไว้นานก็จะเกิดสนิมกัด กินจนกร่อน เมื่อนำมาทำใหม่พระก็จะไม่สมบูรณ์ย่อมมีตำหนิตามที่สนิมกินแม่พิมพ์ แต่พระกรุใหม่กลับมีความคมชัด เรียกว่าคมชัดกว่าพระกรุเก่าด้วยซ้ำไป แต่ถ้าแม่พิมพ์เป็นดินหรือวัสดุอื่น ก็จะมีการผุกร่อนตามกาลเวลา จะทำให้องค์พระคมชัดไม่ได้ ถ้าแกะบล๊อคใหม่ขนาดขององค์พระ หรือตำหนิต่าง ๆ ก็ต้องเพี้ยนไปกว่าเดินแน่นอน
พระหูยานที่แตกกรุออกมานั้น มีด้วยกันหลายพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ (เรียกกันว่าพิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์) พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์รัศมีบัวสองชั้น และพิมพ์จิ๋วแต่มีน้อยมาก ถ้าพูดถึงด้านพุทธคุณแล้วพระหูยานนั้นโด่งดังมากในด้าน คงกระพันชาตรี ตามแบบฉบับของขอม และด้านเมตตานั้นก็ไม่เป็นรองใคร นอกจากพระหูยาน จะพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วยังปรากฏว่าพบที่ วัดอินทาราม และที่วัดปืนด้วย แต่เป็นคนละพิมพ์กัน ด้านพุทธคุณนั้นเหมือนกันทุกกรุ อายุของพระหูยานนั้น ประมาณการสร้าง 700 กว่าปี แต่ถ้าเป็นกรุของวัดปืนแล้ว อายุจะน้อยกว่าของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย