วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระร่วงหลังรางปืน

พระร่วงหลังรางปืน พระร่วงหลังรางปืนสนิมแดง แตกกรุออกมาประมาณไม่น้อยกว่า 48 ปี จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่จำนวนไม่เกิน 200 องค์ มีจำนวนกว่าครึ่งที่ชำรุดเสียพระร่วงหลังรางปืนเป็นศิลปะเขมรยุคปลายซึ่งอยู่ในราว ค.ส. ที่ 13 เข้าใจว่าเมื่อขอมเรืองอำนาจได้ปกครองพื้นที่ในบริเวณนั้นจึงได้สร้างพระ พิมพ์ไว้ก็คือพระร่วงพิมพ์นี้นี่เอง พระพุทธลักษณะเป็นพระยืนปรางประทานพรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ลักษณะของยอดซุ้มเป็นลายกนกแบบซุ้มกระจังเรือนแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นลักษณะพิเศษคือมีร่องกดลึกลงไปทำให้ด้านหลังเป็นร่อง ยาวตามองค์พระ นักนิยมพระเครื่องในสมัยก่อนมักเรียกว่าพระร่วงหลังกาบหมาก ต่อมาได้มีผู้นำพระพิมพ์นี้ไปใช้ทำให้แคล้วคลาดจากภยันตรายจากปืน แต่มีผู้สันทัดอีกกลุ่มหนึ่งอ้างว่าเพราะด้านหลังองค์พระที่เป็นร่องกาบ หมากนั้นลักษณะคล้ายร่องปืนแก็ปเลยเรียกกันว่า “หลังรางปืน”
พระร่วงหลังรางปืน จัดอยู่ในชุดพระยอดขุนพลหนึ่งในห้าอันดับยอดเยี่ยมของพระประเภทเนื้อชิน ซึ่งหาได้ยากยิ่งในกระบวนพระชุดยอดขุนพลทั้งหมด ส่วนราคาเช่าหาจัดว่าสูงที่สุดในประเภทนี้ ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นถือว่าครบเครื่อง คือ อำนาจ แคล้วคลาด โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี
พระร่วงหลังรางปืน นอกจากจะจัดให้เป็นจักพรรดิ์แห่งพระเนื้อชินแล้ว ยังเป็นพระที่หายากยิ่งเพราะฉะนั้นของเทียมเลียนแบบจึงมีมากมายนัก ถ้าหากท่านใดที่มีของแท้อยู่ในมือต้องหวงแหนมากที่สุดเพราะท่านมีหนึ่งใน สองร้อยองค์ของพระทั้งหมด
พระร่วงหลังรางปืน นั้นสร้างด้วยวัสดุเป็นเนื้อตะกั่วส่วนใหญ่ เนื้อชินมีน้อยมาก แต่ไม่ปรากฏว่าพบเนื้อดินเลย ผิวขององค์พระบางองค์จะสีแดงเข้ม บางองค์จะออกสีลูกหว้า แต่ลักษณะพิเศษจะมีไขมากกว่าพระร่วงกรุอื่น ๆ ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 8 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม.
พระร่วงหลังรางปืนมีทั้งหมดด้วยกัน 5 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ใหญ่ฐานสูง
2. พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย
3. พิมพ์แก้มปะ
4. พิมพ์หน้าหนุ่ม
5. พิมพ์เล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น