จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เป็น พระราชธิดา ท้าวศรี สุริโยทัย และเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สร้างวัดราชบูรณะ คือพระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระ หว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงมีการสร้างพระเครื่องมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบ พระเครื่องรุ่นแรกๆจะมีรูปทรงและองค์พระไม่สวย งาม การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอก เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงของสงครามถูกพม่ารุกราน จึงทำกันอย่างรีบร้อนทำให้บางองค์ไม่ได้ตัดแบ่งแยกออกจากกันก็มี คือ ยังติดกันเป็นแผงสามองค์
หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ
เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้าง พระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน
พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี ๖ พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก
ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหา นิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระ พุทธชินราชเป็นต้น ปลุก เสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะ ครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามา จัดเข้าชุด เบญจภาคี พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ
ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระสมเด็จนางพญามี ดังนี้ 1. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน 2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง 3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด 4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์ 5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน 6. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม 7. ว่าน 108 มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน 8. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์ 9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล 10. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง
ลักษณะพระสมเด็จนางพญามีดังนี้
ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดองค์พระแยกออกจากกัน ด้านหลังบางองค์จะมีลายนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่ บางองค์ไม่มีลายนิ้ว มือปรากฏแต่อย่างไร แต่ก็สังเกตเม็ดผดปรากฏนูนขึ้นมาให้สัมผัสได้
สีขององค์พระมีดังนี้ คือ ๑. สีตับเป็ด ๒. สีดอกพิกุลแห้ง ๓. สีอิฐ ๔. สีแดง ๕. สีหัวไพลแห้ง
๖. สีขมิ้นชัน ๗. สีเขียวมะกอกดิบ ๘. สีเขียวครกหิน ๙. สีดำ ๑๐. ดอกจำปี ๑๑. สีเขียว
เนื้อพระนางพญาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
เนื้อละเอียดปนเนื้อหยาบ แก่ว่าน
เนื้อหยาบ คล้ายพระผุ ไม่สวยงามน่าดูสักเท่าไหร่
เนื้อแก่แร่ เนื้อพระชนิดนี้จะปรากฏมวลสารเม็ดใหญ่ๆโผล่ขึ้นมาให้เห็นชัดเจน
พระนางพญาที่สร้างขึ้นครั้งแรกจะมีรูปทรงไม่สวยงามน่าดูแต่อย่างใด
สร้างครั้งที่สองจึงมีรูปทรงสวยงามกว่าครั้งแรกมาก เพราะได้นำช่างหลวงมาช่วยแกะแม่พิมพ์
แม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์พระนางพญา
การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้งครูบาอาจารย์จะนิยมสร้าง 84.000 องค์เสมอ การจัดสร้างพระพิมพ์แต่ละครั้งจะมีแม่พิมพ์หลายอัน แม่พิมพ์แต่ละ อันพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ คือพิมพ์ออกมาติดกันสามองค์ แล้วนำมาตัดแยกออกด้วยตอก ส่วนต่างๆขององค์พระก็มีผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่สภาพยังคงอยู่ดังเดิม พระพิมพ์เดียวกันบางครั้งก็คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปได้ สภาพของดินที่นำมาสร้างพระก็มีส่วนทำให้การพิมพ์พระคลาดเคลื่อนพระพิมพ์ เดียวกันบ้างครั้งก็คลาด เคลื่อนผิดเพี้ยนไปได้ เนื่องจากขณะที่พิมพ์พระลงไปในแม่พิมพ์ใหม่ๆดินยังสดและชื้น แต่พอนำไปเผาก็มีการหดตัวตามธรรมชาติทำให้รูปทรงต่างๆขององค์ พระผิดเพี้ยนไป เช่น เบี้ยวไปบ้าง ยาวไปบ้าง งอบ้าง แอ่นไปบ้าง ขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของไฟที่เผา เซียนพระมักจะสรุปหาว่าผิดพิมพ์บ้าง พระเก๊บ้าง ขนาด เซียนยังลงความเห็นพระแท้พระจริงเป็นพระผิดพิมพ์ พระเก๊ ต่อไปภายหน้าพระแท้พระจริงก็จะหายไปจากวงการ คงเหลือไว้แต่พระนางพญาที่พระเกจิอา จารย์และเซียนสร้างขึ้นใหม่เท่านั้น แม้แต่พระนางพญารุ่นที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้างแจกจ่ายแก่ทหารที่ออก รบ ปัจจุบันยังมีสภาพเดิมๆและดูใหม่ เซียนพระก็ยังมองเป็นพระผิดพิมพ์และพระเก๊ไปแล้ว คงต้องปล่อยให้พระนางพญาแท้แสดงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ออกมาให้พิสูจน์ ความเก่าแก่ของท่าน เองแล้ว ของจริงของแท้แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ก็ยังคงดำรงความเป็นของแท้และของจริงอยู่อย่างนั้นตลอดไป ของใหม่หรือของเก่ามองดูด้วยตา เปล่าก็น่าจะรู้และดูออกแล้ว เซียนเป็นใครอายุเท่าไหร่ เกิดก่อนคุณกี่ปี มีความรู้มาจากไหนควรนำมาพิจารณาด้วย คนไม่เคยไปอเมริกาสามารถอธิบายลักษณะ เมือง LA จากการดูรูปถ่ายและฟังคำบอกเล่าของผู้อื่นได้ถูกต้องฉันใด การอธิบายลักษณะพระเครื่องเก่าแก่โดยไม่เคยเห็นมาก่อนก็มีได้ฉันนั้น ส่วนจะถูกต้อง หรือไม่คิดกันเอาเองก็แล้วกัน
พระกรุมี ๒ กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ ๑ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไหโบราณปั้นด้วยดินเผา สี่หู
กลุ่มที่ ๒ กลุ่มพระที่อยู่นอกภาชนะหรือไหดินเผา
สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสีและผิวของพระเครื่องอย่างมาก พระที่บรรจุในไหโบราณปั้นด้วยดินจะมีสีเขียวตากบหรือสีตับเป็ด ใกล้เคียงกับสีของพระผงสุพรรณ แต่การดูดซึมลึกลงไปในผิวมีน้อยมาก ทั้งนี้เกิดจากขบวนการของธรรมชาติ สภาพของพระเครื่องนางพญาที่บรรจุอยู่ในไหโบราณมีลักษณะสมบูรณ์คงสภาพเดิม คือไม่มีการชำรุดหรือแตกหักใดๆ ส่วนพระที่อยู่ภายนอกไหโบราณปั้นด้วยดิน จะถูกห่อหุ้มด้วยอิฐหินดินทรายและคราบใคร บางองค์จะปรากฏราดำ พระที่อยู่ ในความชื้นจะเกิดราดำ ตรงกันข้ามพระที่อยู่ในที่แห้งจะไม่มีราดำแต่อย่างไร โดยเฉพาะพระนางพญาที่ถูกนำไปแขวนสร้ายห้อยคอแล้วนานๆจะมีการแตกหักหรือ ไม่ก็สึกกร่อนจนแทบจะจำสภาพเดิมไม่ได้ก็มี
นางหนูลูกสาวคนเล็กของปู่บุญคนเก่าคนแก่ที่อาศัยอยู่ใกล้วัดศรีมหาธาตุมา หลายชั่วอายุคนเล่าว่า ปู่บุญก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับแจกพระนางพญามาเก็บรัก ษาไว้เป็นไหๆเช่นกัน ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตท่านได้มอบไหบรรจุพระนางพญาให้แก่ลูกเขยสามีของพี่ สาวชื่อ หมอบุญมี บุญไชยเดช ไปหมดแล้ว
ปู่บุญท่านได้เขียนแนะนำวิธีดูพระกรุพระเก่าไว้ดังนี้ โดยเฉพาะพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
1. พระนางพญาแท้รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง รูปทรงขององค์พระจะมีลักษณะแข็งๆ หมายถึงมีรายละเอียดไม่มากและไม่สวยงามอ่อนช้อย เพราะพิมพ์ จากแม่พิมพ์ที่แกะจากไม้ โดยช่างฝีมือระดับชาวบ้านยังไม่มีศิลปะในการแกะแม่พิมพ์ให้ดูสวยงามมากนัก รูปทรงขององค์พระนางพญารุ่นแรกๆจึงมีลักษณะแข็งๆไม่ สวยงาม
2. พระนางพญาที่ บรรจุอยู่ในกรุหรือไหดินเผา ถึงจะมีอายุเก่าแก่เป็นร้อยปีพันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์และคมชัดทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไม่ควรสึกกร่อน ใดๆปรากฏ เพราะไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน จะมีแต่คราบใครตลอดทั้งขี้กรุและราดำหรือเขียวตามธรรมชาติเท่านั้น
3. หากพบพระกรุหรือพระเก่า อยู่ ในสภาพสมบูรณ์ แต่ไม่มีคราบขี้กรุตลอดทั้งราดำหรือราเขียวๆปรากฏ ดูแล้วเหมือนกระเบื้องที่เพิ่งเอาออกจากเตาอบ ก็ให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นพระใหม่ ไม่ใช่พระกรุหรือพระเก่าแน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่พระกรุพระเก่ามีอายุเป็นร้อยปีพันปีจะไม่มีร่องลอยของคราบ ใครตลอดทั้งราดำหรือ ราเขียวปรากฏให้เห็นตามธรรมชาติ
4. พระนางพญาที่ ผ่านการใช้งานมาแล้วควรจะมีสภาพสึกกร่อนทั้งด้านหน้าและด้านหลังคล้ายๆกัน หากพบว่าด้านหน้าสึกกร่อนจนแทบจำสภาพเดิมไม่ได้ แต่ด้านหลังยังอยู่ในสภาพดีมีลายนิ้วมือปรากฏนั่นแสดงว่าพระใหม่ไม่ใช่พระ เก่าหรือพระกรุแน่นอน ในระหว่างการใช้งานด้านหลังย่อมถูไถไปมามากกว่าด้านหน้า ด้านหลังจึงควรจะมีการสึกกร่อนมากกว่าด้านหน้า เนื่องจากสมัยโบราณการแขวนสร้อยห้อยพระเครื่องจะนิยมถักด้วยลวดทองแดงเป็น ตาข่ายไขว้ไปไขว้มา ยังไม่มี การใส่กรอบมิดชิดเหมือนสมัยปัจจุบัน
5. ดูความหนาแน่นของเนื้อพระ ถ้าเป็นพระเก่ามีอายุเป็นร้อยๆปีเนื้อดินหรือเนื้อปูนจะมีสภาพแน่นและแข็ง แกร่งมากๆ หากมีมวลสารและส่วนผสมของผง ใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้มากๆ เนื้อพระเครื่องจะมีสภาพพรุนเหมือนดินผุๆมองเห็นแร่ธาตุต่างๆได้ชัดเจน ส่วนที่เป็นผงใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้ที่อยู่ ในองค์พระด่านนอกจะถูกเผาไม่เหลืออะไรไว้ให้เห็นนอกจากรูพรุนๆ บางองค์หักดูจะเห็นร่องรอยของเถ้าถ่านผงใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้ ฝังอยู่ในเนื้อพระ เครื่องก็มี
หากใครจะนำพระเก่าหรือพระกรุที่มีสภาพสมบูรณ์คมชัดไปให้เซียนดู ก็ขอให้ทำใจไว้ล่วงหน้าเมื่อได้ยินเซียนท่านบอกว่าพระของคุณเป็นพระใหม่ไม่ ถูกพิมพ์ ไม่ทราบเหมือนกันว่าไม่ถูกพิมพ์ของเซียนหรือว่าไม่ถูกพิมพ์ของวัดนางพญากัน แน่ ส่วนมากเซียนท่านคุ้นเคยคุ้นตากับพระเครื่องที่มีสภาพสึกกร่อน พอมาเจอพระเครื่อง ที่คุณนำไปให้ดูมีสภาพคมชัดสมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ท่านก็เลยสรุปว่าพระที่คุณนำไปให้ดูเป็นพระใหม่บ้าง พระไม่ถูกพิมพ์บ้าง พระเก๊บ้าง
6. พระนางพญารุ่น ที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจัดสร้าง ช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ พระนางพญายุคที่องค์สมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้สร้าง จึงมีรูปทรงองค์พระสวยงามอ่อนช้อย ความแน่นหนาของเนื้อดินและส่วนผสมที่นำมาสร้างไม่แน่นหนาและแข็งแกร่งเหมือน พระนางพญายุคที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง หากนำมาเทียบกันจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน
ถึงเวลาที่นักนิยมพระเครื่อง จะได้เห็นและเป็นเจ้าของพระสมเด็จนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้างไว้สมัยกรุงศรีอยุธยา แท้ๆกันแล้ว หากใครลงความเห็นว่าพระนางพญา กรุวัดนางพญาที่นำมาให้ชมนี้ไม่ใช่พระนางพญาแท้ เป็นพระผิดพิมพ์ หรือพระใหม่ ขอได้โปรดหันไปพิจารณาอายุและ อาชีพดั้งเดิมของบุคคลผู้นั้นด้วยว่า มีความรู้สืบต่อกันมาอย่างไร เคยเห็นพระสมเด็จนางพญาแท้ๆกันมาก่อนหรือไม่ อย่าฟังเหตุผลและเรื่องเล่าจากคำพูดเท่านั้น ใช้สติและ พิจารณาหาเหตุผลด้วยต้นเองบ้าง อย่างน้อยดูสภาพความเก่าตลอดทั้งศิลปะของรูปทรงองค์พระและมวลสารต่างๆที่ควร จะมีปรากฏให้เห็น หากเป็นพระเก่าอยู่แต่ในกรุ ถึงจะ มีเวลาผ่านไปนานกี่พันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์ไร้ล่องรอยของการสึกกร่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะมีได้แค่คราบใคร ขี้กรุฝังอยู่ในเนื้อขององค์พระเท่านั้น
การดูพระกรุ พระเก่าแก่ อายุเป็นร้อยๆปี ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ไหนถูกบรรจุในกรุอยู่ลึกๆ มีความอับชื้นมากย่อมมีคราบใคร ตกผลึก ฝังแน่นหนามากกว่า บางองค์เกาะกันเป็นแผ่นเหมือนสนิมเกาะโลหะเก่าๆ บางองค์ถูกบรรจุอยู่ในกรุตื้นๆความอับชื้นมีน้อย คราบใครตกผลึกที่องค์พระก็มีน้อยและ บางตามไปด้วย การดูพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระใหม่หรือพระเก่า จะดูตำหนิต่างๆเป็นเกณฑ์ตายตัวไม่ได้ การที่มีคนระบุตำหนิและตำแห่นงขององค์พระว่าจะต้องมีตำหนิ ตรงนั้น ตรงนี้ เป็นการชี้นำตำหนิและตำแหน่งพระเครื่องที่เขามีอยู่ หากมีคนสนใจต้องการพระเครื่องที่มีตำหนิและตำแหน่งดังกล่าวจริงๆก็หาเช่าที่ ไหนไม่ได้นอกจากที่ตัว ของผู้ที่ชี้นำตำหนิและตำแหน่งเท่านั้น
การดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัวจึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสินว่าเป็น พระแท้หรือไม่แท้ พระพิมพ์เดียวกัน แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน โดยบุคคลคนเดี่ยว กันยังไม่เหมือนกัน การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ไร้ทั้งสาระและเหตุผล หากนำเครื่องมือทางวิท ยาศาสตร์มาตรวจดูก็จะรู้และประมาณความเก่าแก่ได้ดีกว่า การคาดเดาใดๆ ความเห็นที่นำมาเสนอนี้เป็นเพียงเหตุผลที่ควรจะเป็นเท่านั้น หากนำมาพิจารณาประกอบด้วยก็ จะช่วยทำให้ไม่ถูกหลอก ถูกต้มได้
พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ที่ปู่บุญมอบให้หมอบุญมีไปนั้น ปัจจุบันทราบว่าได้ตกมาอยู่ในการครอบครองของอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ผู้เป็นลูกชายคนโตของหมอบุญมีทั้งหมดแล้ว
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
พระปิดตา
“พระปิดตา“อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย…ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยใด บางท่านเคยพบว่า พระปิดตางบน้ำอ้อยขนาดใหญ่เนื้อดินเผา อยู่ในกรุเมืองกำแพงเพชร แต่ว่ามีน้อยองค์และหายาก
บางท่านว่าพระปิดตาพิชัย กรุคลองตะเคียน…กรุวัดประดู่ทรงธรรม…จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างด้วยเนื้อดินผสมผงใบลานเผา น่าจะมีอายุเก่าที่สุดเพราะสืบได้ว่าสร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลาย และมีให้เล่นหากันพอสมควร
หรือบางท่านว่าอาจจะเป็น พระปิดตาท้ายย่าน จากกรุวัดท้ายย่าน จังหวัดชัยนาท เป็นพระปิดตาที่สร้างมาจากเนื้อแร่ดินพลวงผสมชิน ผู้รู้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน พระพุทธประติมาหินจำหลัก ในตำรากล่าวว่าในสมัยพุทธศตวรรษที่7 ศาสนาพุทธ ได้แพร่หลายเข้าไปใน ประเทศกรีก นายช่างจำหลักหินผู้มีฝีมือชาวกรีก ซึ่งเคยจำหลักเทพเจ้าต่างๆ จึงได้จำหลักรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นครั้งแรกด้วยหินอ่อนสีขาว ซึ่งมีมากในประเทศกรีก…ต่อมานายช่างชาวอินเดียแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ได้ไปขอถ่ายทอดฝีมือ จำหลักรูปองคืพระศาสดา ด้วยหินชนวนสีเทา มีความงดงามไม่แพ้กัน จึงเป็นพระพุทธรูปสลักหินครั้งแรกของประเทศอินเดีย ซึ่งพุทธศตวรรษที่7 เช่นกันเรียกว่า ศิลปะคันธาระ และพระพุทธรูปยุคนี้ เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย เราเรียกว่า พระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปมีครั้งแรกในสมัยพุทธกาล ท่านผู้รู้กล่าวว่าความจริงแล้ว พระพุทธรูปได้สร้างขึ้น ครั้งแรกในสมัยพุทธกาล…สร้างด้วยไม้แก่นจันทน์ ครั้งนั้นพุทธองค์จะเสด็จไปยังสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อไปโปรดพุทธมารดา…
พระมหากษัตริย์ที่ครองชมพูทวีป อยู่ในครั้งนั้นชื่อ พระเจ้าพิมพิสาร หรือพระองค์ใดไม่แน่ชัด ได้ทูลขออนุญาตสลักไม้แก่นจันทน์เป็นรูปพระพุทธองค์ไว้เพื่อสักการบูชา ในระหว่างที่พระพุทธองค์ไม่อยู่…พระองค์ทรงอนุญาต
พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แสดงปาฏิหาริย์ในตำรามีพระพุทธรูป อยู่ปางหนึ่ง คือปางห้ามแก่นจันทน์ หรือเรียกเต็มๆว่า ปางห้ามพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ เมื่อสมเด็จพระพุทธองค์ เสด็จกลับจากดาวดึงส์ แล้ว ก็คงเสด็จไปยังที่พำนักของพระองค์ แต่เดิมซึ่งบัดนั้นมี พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ได้แสดงปาฏิหาริย์ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คล้ายจะหลีกทางให้ พระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ จึงได้ยืนและยกพระหัตถ์ซ้าย ขึ้นหงายฝ่ามือแบไปเบื้องหน้าเสมอพระอุระ…เป็นกิริยาห้ามไว้ ต่อมาประชาชนผู้ศรัทธาได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนพระมหากัจจายนะ หรือ พระสังกัจจายน์ นิยมสร้างไว้เคารพบูชาในยุคหลังๆ และเปลี่ยนมาเป็นพระปิดตา…พระมหาอุตม์
บางท่านว่าพระปิดตาพิชัย กรุคลองตะเคียน…กรุวัดประดู่ทรงธรรม…จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างด้วยเนื้อดินผสมผงใบลานเผา น่าจะมีอายุเก่าที่สุดเพราะสืบได้ว่าสร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลาย และมีให้เล่นหากันพอสมควร
หรือบางท่านว่าอาจจะเป็น พระปิดตาท้ายย่าน จากกรุวัดท้ายย่าน จังหวัดชัยนาท เป็นพระปิดตาที่สร้างมาจากเนื้อแร่ดินพลวงผสมชิน ผู้รู้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน พระพุทธประติมาหินจำหลัก ในตำรากล่าวว่าในสมัยพุทธศตวรรษที่7 ศาสนาพุทธ ได้แพร่หลายเข้าไปใน ประเทศกรีก นายช่างจำหลักหินผู้มีฝีมือชาวกรีก ซึ่งเคยจำหลักเทพเจ้าต่างๆ จึงได้จำหลักรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นครั้งแรกด้วยหินอ่อนสีขาว ซึ่งมีมากในประเทศกรีก…ต่อมานายช่างชาวอินเดียแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ได้ไปขอถ่ายทอดฝีมือ จำหลักรูปองคืพระศาสดา ด้วยหินชนวนสีเทา มีความงดงามไม่แพ้กัน จึงเป็นพระพุทธรูปสลักหินครั้งแรกของประเทศอินเดีย ซึ่งพุทธศตวรรษที่7 เช่นกันเรียกว่า ศิลปะคันธาระ และพระพุทธรูปยุคนี้ เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย เราเรียกว่า พระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปมีครั้งแรกในสมัยพุทธกาล ท่านผู้รู้กล่าวว่าความจริงแล้ว พระพุทธรูปได้สร้างขึ้น ครั้งแรกในสมัยพุทธกาล…สร้างด้วยไม้แก่นจันทน์ ครั้งนั้นพุทธองค์จะเสด็จไปยังสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อไปโปรดพุทธมารดา…
พระมหากษัตริย์ที่ครองชมพูทวีป อยู่ในครั้งนั้นชื่อ พระเจ้าพิมพิสาร หรือพระองค์ใดไม่แน่ชัด ได้ทูลขออนุญาตสลักไม้แก่นจันทน์เป็นรูปพระพุทธองค์ไว้เพื่อสักการบูชา ในระหว่างที่พระพุทธองค์ไม่อยู่…พระองค์ทรงอนุญาต
พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แสดงปาฏิหาริย์ในตำรามีพระพุทธรูป อยู่ปางหนึ่ง คือปางห้ามแก่นจันทน์ หรือเรียกเต็มๆว่า ปางห้ามพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ เมื่อสมเด็จพระพุทธองค์ เสด็จกลับจากดาวดึงส์ แล้ว ก็คงเสด็จไปยังที่พำนักของพระองค์ แต่เดิมซึ่งบัดนั้นมี พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ได้แสดงปาฏิหาริย์ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คล้ายจะหลีกทางให้ พระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ จึงได้ยืนและยกพระหัตถ์ซ้าย ขึ้นหงายฝ่ามือแบไปเบื้องหน้าเสมอพระอุระ…เป็นกิริยาห้ามไว้ ต่อมาประชาชนผู้ศรัทธาได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนพระมหากัจจายนะ หรือ พระสังกัจจายน์ นิยมสร้างไว้เคารพบูชาในยุคหลังๆ และเปลี่ยนมาเป็นพระปิดตา…พระมหาอุตม์
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ครูบาศรีวิชัย
ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือของประเทศไทย (ล้านนา) ว่าเป็น “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน “ตุ๊เจ้าสิลิ”) แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ ครูบาศรีวิชัย เดิมชื่อ เฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ที่หมู่บ้านชื่อ “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน (ปัจจุบันคือตำบลศรีวิชัย) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ 1.นายไหว 2.นางอวน 3.นายอินท์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย) 4.นางแว่น 5.นายทา ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์ (เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 ช่วง พ.ศ. 2414-2431) ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยง ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ 17 ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัตติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ 18 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ 3 ปีต่อมา (พ.ศ. 2442) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า 21 ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก 1 พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละ วัดดอยแตเป็นเวลา 1 พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. 2444 อายุได้ 24 ปี พรรษาที่ 4 ครูบาขัตติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ 5 ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ 26 ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง 5 เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง 7 คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน “เตา”-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิกและผักเฮือด-ผักฮี้ (ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง 4 จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย(ทาสทำงานใช้หนี้)ของเศรษฐีปานเกิดในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์(บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง(ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฎว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7ขวบ พ.ศ.2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาร 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น ดดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 สิริรวมอายุได้ 99 ปี
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สมเด็จโตวัดระฆัง
ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี) บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศรสุนทร พระบรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป ซุ้มประตูทางเข้าวัดระฆัง พระอุโบสถ วัดระฆัง พระปรางค์ วัดระฆัง เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํน ที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี) บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศรสุนทร พระบรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป ซุ้มประตูทางเข้าวัดระฆัง พระอุโบสถ วัดระฆัง พระปรางค์ วัดระฆัง เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํน ที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
พระกรุ คือ อะไร
พระกรุ หมายความได้ว่า วัตถุบูชาหรือพระเครื่องที่ ถูกบรรจุไว้ในพุทธปูชนียสถานต่างๆ เช่น เจดีย์ในวัด หรือใต้โบสถ์,วิหาร หรือแม้กระทั่งใต้ดิน หรือใต้ต้นไม้ ระแวกชานชลาบ้านของผู้ครอบครองแต่โบราณก็ตามที สาเหตุสำคั_ของการบรรจุ หรือเรียกว่าซ่อนก็ได้ ในบางกรณี เมื่ออดีตกาลนั้นอาจเป็นไปได้ในหลายประเด็น อันได้แก่
เพื่อการเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานและชนรุ่นหลัง แม้กระทั่งเพื่อตนเองก็ตามที เมื่อยามเกิดวิกฤตกาล ,เพื่อการทำบุ_ หรือเพื่อทำตามความเชื่อก็ตามที โดยรวมความทั้งหมดนั่นแล้ว คือ เพื่อการเก็บรักษาให้ องค์พระเครื่องยังคงอยู่มิให้สู_หาย หรือถูกทำลาย
พระกรุโดย มากแล้วจะมีอายุมากกว่าร้อยปีขึ้นไป บางชนิดนั้นอายุมากกว่าพันปี ไปแล้ว เช่น พระรอด เป็นต้น ครั้นนี้พระกรุต่างๆที่ถูกค้นพบหรือเรียกเหตุการณ์ที่ว่า ว่า แตกกรุ ขึ้นมา ในปัจจุบันจึงทำให้เราชนรุ่นหลังได้ร่วมรำลึกถึงประวัติศาสาตร์,ความเจ ริ_รุ่งเรืองในศิลปะและวัฒนธรรม ในยุคสมัยโบราณกาลต่างๆ ดังที่ได้สะท้อนจากศิลปะลวดลายอันอลังการณ์ อ่อนช้อยและสวยงาม ของพระกรุ
รายนามพระกรุในเมืองไทยเท่าที่จะสืบค้นมาได้มีดังต่อไปนี้ครับ
๑.ลำพูน เช่น พระรอด พระคง พระเลี่ยง พระลือ
๒.พิษณุโลก เช่น พระนางพ_า พระท่ามะปราง พระชินราช พระชินศรี
๓.พิจิตร เช่น พระพิจิตร พิมพ์ต่างๆ เช่น เม็ดข้าวเม่า ใบมะขาม หน้าจั่ว
๔.กำแพงเพชร เช่น พระกำแพง พิมพ์ต่างๆ เช่น ซุ้มกอ พลูจีบ กลีบบัว
๕.สวรรคโลก เช่น พระเม็ดน้อยหน่า พระบ้านกล้วย
๖.สุโขทัย เช่น พระผงดำ พระลีลาสุโขทัย
๗.สุพรรณบุรี เช่น พระผงสุพรรณ พระขุนแผน พระมเหศวร
๘.สวรรคบุรี เช่น พระวัดท้ายย่าน พระกำแพงเขย่งสรรค์
๙.ลพบุรี เช่น พระร่วง พระหูยาน พระวัดปืน
๑๐.เพชรบุรี เช่น พระวัดสมอปรือ พระวัดค้าวคาว พระหูยาน
๑๑.นครปฐม เช่น พระทวาราวดี
๑๒.กาญจนบุรี เช่น พระท่ากระดาน
๑๓.อยุธยา เช่น พระปรุหนัง พระใบเสมา พระใบพุดซา
๑๔.นครรัตนโกสินทร์ เช่น พระสมเด็จฯ
เพื่อการเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานและชนรุ่นหลัง แม้กระทั่งเพื่อตนเองก็ตามที เมื่อยามเกิดวิกฤตกาล ,เพื่อการทำบุ_ หรือเพื่อทำตามความเชื่อก็ตามที โดยรวมความทั้งหมดนั่นแล้ว คือ เพื่อการเก็บรักษาให้ องค์พระเครื่องยังคงอยู่มิให้สู_หาย หรือถูกทำลาย
พระกรุโดย มากแล้วจะมีอายุมากกว่าร้อยปีขึ้นไป บางชนิดนั้นอายุมากกว่าพันปี ไปแล้ว เช่น พระรอด เป็นต้น ครั้นนี้พระกรุต่างๆที่ถูกค้นพบหรือเรียกเหตุการณ์ที่ว่า ว่า แตกกรุ ขึ้นมา ในปัจจุบันจึงทำให้เราชนรุ่นหลังได้ร่วมรำลึกถึงประวัติศาสาตร์,ความเจ ริ_รุ่งเรืองในศิลปะและวัฒนธรรม ในยุคสมัยโบราณกาลต่างๆ ดังที่ได้สะท้อนจากศิลปะลวดลายอันอลังการณ์ อ่อนช้อยและสวยงาม ของพระกรุ
รายนามพระกรุในเมืองไทยเท่าที่จะสืบค้นมาได้มีดังต่อไปนี้ครับ
๑.ลำพูน เช่น พระรอด พระคง พระเลี่ยง พระลือ
๒.พิษณุโลก เช่น พระนางพ_า พระท่ามะปราง พระชินราช พระชินศรี
๓.พิจิตร เช่น พระพิจิตร พิมพ์ต่างๆ เช่น เม็ดข้าวเม่า ใบมะขาม หน้าจั่ว
๔.กำแพงเพชร เช่น พระกำแพง พิมพ์ต่างๆ เช่น ซุ้มกอ พลูจีบ กลีบบัว
๕.สวรรคโลก เช่น พระเม็ดน้อยหน่า พระบ้านกล้วย
๖.สุโขทัย เช่น พระผงดำ พระลีลาสุโขทัย
๗.สุพรรณบุรี เช่น พระผงสุพรรณ พระขุนแผน พระมเหศวร
๘.สวรรคบุรี เช่น พระวัดท้ายย่าน พระกำแพงเขย่งสรรค์
๙.ลพบุรี เช่น พระร่วง พระหูยาน พระวัดปืน
๑๐.เพชรบุรี เช่น พระวัดสมอปรือ พระวัดค้าวคาว พระหูยาน
๑๑.นครปฐม เช่น พระทวาราวดี
๑๒.กาญจนบุรี เช่น พระท่ากระดาน
๑๓.อยุธยา เช่น พระปรุหนัง พระใบเสมา พระใบพุดซา
๑๔.นครรัตนโกสินทร์ เช่น พระสมเด็จฯ
พระกรรมฐาน
วิธีรวบรัดในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ให้ทรงพรหมวิหาร 4 มีอิทธิบาท 4 (หลวงพ่อเคยเทศน์ที่บ้านสายลมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534 ว่าถ้าไม่มีอิทธิบาท 4 ปฏิบัติอีกโกฏิปีก็เอาดีไม่ได้ อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) มีศีลเป็นปกติ คนที่เขามีศีลน่ะ เขาไม่สร้างความยุ่งยากให้กับบุคคลอื่น เพราะว่าเขามองหาความเลวของตัวเป็นสำคัญ ถ้าจิตของเราดีมันก็ไม่ยุ่ง กายก็ดี วาจาก็ดี ถ้าจิตของเราเลวลง วาจาก็เลว กายก็เลว ที่นี้ทุกคนจงสำนึกตัวไว้ อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้นเป็นการผิดระเบียบตามพระพุทธศาสนา และตามระเบียบวินัย แล้วเราก็ควบคุมศีล ศีลของเรามีเท่าไหร่ ปฏิบัติให้ครบ ธรรมะมีเท่าไหร่ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน มีเท่าไหร่ปฏิบัติให้ครบ อารมณ์สมถะมี 40 ปฏิบัติให้มันครบองค์ วิปัสสนาญาณมีเท่าไหร่ปฏิบัติให้ครบ ถ้าพยายามคิดประพฤติอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่มีเวลาไปยุ่งกับบุคคลอื่น อันนี้อาการที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น ก็ชื่อว่าไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง
เป็นอันว่าด้านสมาธิจิตของพระโสดาบัน นับไปให้ดีว่ามีอะไรบ้างว่า หนึ่งพุทธานุสสติ สองธัมมานุสสติ สามสังฆานุสสติ สี่สีลานุสสติ ห้าอุปสมานุสสติ หกมรณานุสสติ ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานพร้อม ๆ กัน เขาทำยังไง การที่จะเป็นพระโสดาบันมีกฎบังคับว่า ถ้าอารมณ์จิตต่ำกว่าปฐมฌานจะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ หรือว่าจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ อย่างเลวที่สุด จิตต้องทรงอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ และอย่างดีที่สุดจิตก็จะทรงอยู่ในฌาน 4 เป็นปกติ แต่ฌานที่สี่นี่ปกติไม่ได้ ปกตินี่หมายถึงเวลาที่เราจะใช้ในยามปกติธรรมดา เราพูด เราคุย เราทำงาน จิตต้องอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ แล้วอารมณ์ปฐมฌานเป็นยังไง อารมณ์ปฐมฌานก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สำหรับเรา อารมณ์นี้จะคุมอยู่ในอนุสสติทั้งหกตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะไม่ลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย นี่ถ้าทุกคนมีอารมณ์อย่างนี้ มันจะมีบ้างไหมที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับอาการของบุคคลอื่นไม่มี แต่ถ้าอารมณ์ของเราเลวทรามลงกว่าพระโสดาบันล่ะ ถ้าเป็นพระก็เลยเป็นพระเดรัจฉานไป ถ้าฆราวาส ก็จัดว่าเป็นปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นพาลชนคนโง่ หวังว่าต่อไปนี้ท่านทั้งหลาย คงจะไม่มีใครเลว มีแต่ความดี และก็ทรงความดีทั้งหลายอย่างนี้ไว้
“ความ สำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือ ทำจิตให้หมดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน นี่เป็นความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นความต้องการของผม (หลวงพ่อ) ด้วย”
(คัดลอกและตัดตอนมาจาก “ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน ตอน พระโสดาบัน”)
จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ให้ทรงพรหมวิหาร 4 มีอิทธิบาท 4 (หลวงพ่อเคยเทศน์ที่บ้านสายลมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534 ว่าถ้าไม่มีอิทธิบาท 4 ปฏิบัติอีกโกฏิปีก็เอาดีไม่ได้ อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) มีศีลเป็นปกติ คนที่เขามีศีลน่ะ เขาไม่สร้างความยุ่งยากให้กับบุคคลอื่น เพราะว่าเขามองหาความเลวของตัวเป็นสำคัญ ถ้าจิตของเราดีมันก็ไม่ยุ่ง กายก็ดี วาจาก็ดี ถ้าจิตของเราเลวลง วาจาก็เลว กายก็เลว ที่นี้ทุกคนจงสำนึกตัวไว้ อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้นเป็นการผิดระเบียบตามพระพุทธศาสนา และตามระเบียบวินัย แล้วเราก็ควบคุมศีล ศีลของเรามีเท่าไหร่ ปฏิบัติให้ครบ ธรรมะมีเท่าไหร่ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน มีเท่าไหร่ปฏิบัติให้ครบ อารมณ์สมถะมี 40 ปฏิบัติให้มันครบองค์ วิปัสสนาญาณมีเท่าไหร่ปฏิบัติให้ครบ ถ้าพยายามคิดประพฤติอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่มีเวลาไปยุ่งกับบุคคลอื่น อันนี้อาการที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น ก็ชื่อว่าไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง
เป็นอันว่าด้านสมาธิจิตของพระโสดาบัน นับไปให้ดีว่ามีอะไรบ้างว่า หนึ่งพุทธานุสสติ สองธัมมานุสสติ สามสังฆานุสสติ สี่สีลานุสสติ ห้าอุปสมานุสสติ หกมรณานุสสติ ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานพร้อม ๆ กัน เขาทำยังไง การที่จะเป็นพระโสดาบันมีกฎบังคับว่า ถ้าอารมณ์จิตต่ำกว่าปฐมฌานจะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ หรือว่าจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ อย่างเลวที่สุด จิตต้องทรงอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ และอย่างดีที่สุดจิตก็จะทรงอยู่ในฌาน 4 เป็นปกติ แต่ฌานที่สี่นี่ปกติไม่ได้ ปกตินี่หมายถึงเวลาที่เราจะใช้ในยามปกติธรรมดา เราพูด เราคุย เราทำงาน จิตต้องอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ แล้วอารมณ์ปฐมฌานเป็นยังไง อารมณ์ปฐมฌานก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สำหรับเรา อารมณ์นี้จะคุมอยู่ในอนุสสติทั้งหกตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะไม่ลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย นี่ถ้าทุกคนมีอารมณ์อย่างนี้ มันจะมีบ้างไหมที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับอาการของบุคคลอื่นไม่มี แต่ถ้าอารมณ์ของเราเลวทรามลงกว่าพระโสดาบันล่ะ ถ้าเป็นพระก็เลยเป็นพระเดรัจฉานไป ถ้าฆราวาส ก็จัดว่าเป็นปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นพาลชนคนโง่ หวังว่าต่อไปนี้ท่านทั้งหลาย คงจะไม่มีใครเลว มีแต่ความดี และก็ทรงความดีทั้งหลายอย่างนี้ไว้
“ความ สำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือ ทำจิตให้หมดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน นี่เป็นความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นความต้องการของผม (หลวงพ่อ) ด้วย”
(คัดลอกและตัดตอนมาจาก “ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน ตอน พระโสดาบัน”)
พระกรรมฐานพุทโธดอทคอม
ศูนย์รวมพระเครื่อง พระกรุ พระเหรียญ เครื่องรางของขลังค์ สำหรับเช่าบูชาราคาถูก รับประกันของแท้ไม่มีเก้ ยินดีคืนเงินเต็มหากไม่พอใจในสินค้า, พระกรรมฐานพุทโธดอทคอมศูนย์รวมพระราคาถูก, พระเครื่องราคาถูก, พระเช่าบูชาราคาถูก, เครื่องรางของขลังราคาถูก, เครื่องรางของขลังค์ราคาถูก, วัตถุมงคลราคาถูก, เว็บไซต์พระเครื่อง พระเช่าบูชา อันดับ 1 ของไทย, เว็บไซต์พระเครื่อง พระ เช่าบูชา อันดับ 1 ของภาคเหนือ, เว็บไซต์พระเครื่อง พระเช่าบูชา อันดับ 1 ของภาคกลาง, เว็บไซต์พระเครื่อง พระเช่าบูชา อันดับ 1 ของภาคอีสาน, เว็บไซต์พระเครื่อง พระเช่าบูชา อันดับ 1 ของภาคใต้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)