วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

พระชินราช ใบเสมา

พระชินราช ใบเสมา เป็นพระที่กำเนิดที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ เป็นพระศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างก็คือ “พระมหาธรรมราชาลิไท” พระมหากษัตริย์ของกรุงสุโขทัยเมื่อครั้งครองเมืองพิษณุโลก
พระชินราช ใบเสมา เป็นพระที่กำเนิดที่วัดใหญ่และเป็นวัดเดียวกันกับพระพุทธชินราชองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประธานของวัด จึงนำพระนามของท่านมาเป็นชื่อของพระเครื่องที่ขุดค้นพบ ก็คือพระชินราชใบเสมานั่นเอง
สาเหตุที่เรียกว่า “ใบเสมา” ก็เพราะองค์พระนั่งประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ที่มีลักษณะคล้ายใบเสมาที่อยู่รองโบสถ์ จึงนำสันฐานรูปร่างของใบเสมามาเป็นชื่อพระอีกด้วย พระชินราช ใบเสมา แตกกรุออกมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ได้มีประชาชนนำทูลเกล้าถวาย พระองค์ก็นำมาแจกจ่ายให้แก่พสกนิกรที่ติดตามอย่างถ้วนหน้า นอกจากจะพบที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วยังมีผู้พบที่กรุอื่นอีก คือ กรุพระปรางค์ กรุอัฏฐารส กรุเขาสมอแดง กรุพหรมพิราม และที่กรุเขาพนมเพลิง แต่ความนิยมอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมากที่สุด พระที่ถูกค้นพบมีชนิดเนื้อชินเงิน เนื้อสำริด เนื้อดิน เนื้อชินเขียว มีบางท่านเคยบอกเล่าว่าเคยพบเนื้อทองคำด้วย แต่ว่าน้อยมากแทบจะไม่มีให้เห็นในวงการฯ
พระชินราช ใบเสมา เป็นพระเครื่องที่สร้างศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น เพราะฉะนั้นพระพักต์ของท่านจึงดูเข้มคล้ายกับยิ้มเครียด ๆ แฝงไปด้วยความมีอำนาจ โดยเฉพาะพระศก หรือเส้นผม จะทำลักษณะให้เป็นเส้น ๆ แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์นี้เลยทีเดียว
พระชินราช ใบเสมา ที่ค้นพบมีด้วยกันหลายพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ฐานสูง พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย พิมพ์กลางฐานสูง พิมพ์กลางฐานเตี้ย พิมพ์เล็กฐานสูงและเตี้ย ปัจจุบันพระชินราชใบ เสมา ถือว่าเป็นพระเนื้อชินที่เป็นพระหลักและหายาก ส่วนราคาจึงจัดว่าสูงมากพอสมควรส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น สูงทางด้านแคล้วคลาด เมตตาและความมีอำนาจ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องปกครองดูแลผู้คนควรจะมีติดตัวไว้สักองค์หนึ่ง

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

พระมเหศวร

พระมเหศวร เป็น พระเครื่องเนื้อชินชั้นนำที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี มีเฉพาะที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแห่งเดียว พุทธลักษณะของพระมเหศวรเป็นพระปางสะดุ้งมารจะมี 2 หน้า แต่ละหน้าเศียรองค์พระจะสวนกัน จึงทำให้คนในสมัยก่อนเรียกว่า “พระสวน” แต่ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนกันว่า “พระมเหศวร” มิใช่นำชื่อของจอมโจรชื่อดังในสมัยก่อนมาเป็นชื่อพระ เพราะคำว่า “มเหศวร” มีมาก่อนจอมโจรชื่อดังคนนี้ เข้าใจว่าจอมโจรชื่อดังจะเอาชื่อ “พระมเหศวร” มาเป็นชื่อตัวเองมากกว่า

พระมเหศวร ที่พบมีประมาณ 24 แบบ แต่ที่แบ่งแยกออกมาเป็นพิมพ์จะได้ 5 พิมพ์ คือ
1. พระมเหศวรพิมพ์ใหญ่
2. พระมเหศวรพิมพ์กลา
3. พระมเหศวรพิมพ์เล็ก
4. พระสวนเดี่ยว
5. พระสวนตรง
พระมเหศวรที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินเงินเกือบทั้งหมด ที่เป็นชินเขียวก็มีแต่เข้าใจว่าเป็นพระยุคหลังสร้างล้อของเก่าที่เป็น เนื้อชินเงิน
พระมเหศวร ควรจัดเป็นพระชั้นนำของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้ถูกสร้างพร้อมกับพระผงสุพรรณที่เลื่องลือโดย “ฤาษีพิมพ์พิลาไลย” เพราะฉะนั้นพุทธคุณจึงเยี่ยมยอดเหมือนพระผงสุพรรณเลยทีเดียว คือ มีเมตตามหานิยมแคล้วคลาดมหาอุต โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าสุดยอดที่สุด
พระมเหศวร เป็นพระศิลปะแบบ “อู่ทอง” ผู้ที่มีไว้ในครอบครองถือว่านอกจากได้พระที่เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ ยังได้พระที่มีศิลปะล้ำค่าในครอบครองอีกด้วย ปัจจุบันจัดเป็นพระที่มีราคาสูง และจัดอยู่ 1 ใน 5 ยอดขุนพลประเภทเนื้อชินของประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

การเจริญพระกรรมฐาน

ขอเจริญพรบรรดาญาติพี่น้องพุทธบริษัท ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ทุกท่าน ในวันนี้เป็นวันธรรมสวนะ วันพระอุโบสถ เป็นวันที่เรารวมกันเพื่อแสวงหาธรรมะ ให้พบพระในจิตใจของท่าน ถ้าพบพระเมื่อใดใจจะประเสริฐเมื่อนั้น จิตใจก็เยือกเย็น แปลว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นพระ
การเจริญพระกรรมฐานต้องการพบพระ ต้องการมีพระประจำกาย ประจำใจ ต้องการมีความสุข เจริญรุ่งเรืองในชีวิตของท่าน ถ้าท่านไม่ปฏิบัติธรรม จะไม่พบพระที่แท้จริง จะพบพระปลอม นุ่งเหลือง ห่มเหลือง หาใช่พระของเราไม่ ท่านมีพระประจำใจท่านจะมีแต่เมตตาปรานี ปรารถนาดี และมีแต่ความสงสารซึ่งกันและกัน แสดงความยินดีแก่ผู้สร้างความดี มีแต่ความวางเฉยในเรืองกิเลสนานาประการ คือ อุเบกขาภาวนา ไม่ใช่ใครทำดีทำชั่วก็เฉย อุเบกขาอย่างนี้ไม่ถูกต้อง
วันนี้จะชี้แจงให้ท่านเข้าใจในเรื่อง เจริญพระกรรมฐานได้อะไร เจริญพระกรรมฐานจะพบพระตรงไหน และพระกรรมฐานจะแก้กรรมได้ไหม พระกรรมฐานจะไปหาเวรหากรรมอีกต่อไปไหม ถ้าเจริญกรรมฐานได้จริง หมดเวรหมดกรรมแน่ ท่านจะหมดเวรหมดกรรมที่ทำไว้ ขอติดตามฟังสืบไป ณ โอกาสบัดนี้
ท่านสาธุชนที่รักทั้งหลาย ที่ท่านขวนขวายมาที่วัดนี้ ท่านต้องการอะไรบ้าง วัตถุประสงค์ของท่านมีอะไร อาตมาถามหลายคณะแล้ว ตอบไม่ถูกเลย ต้องการจะนั่งกรรมฐานไปสวรรค์ไปนิพพาน มันจะเอื้อมสูงเกินไป ไปบวชชีพราหมณ์ก็มารวมกัน วิทยากรหลายท่านบรรยายกันเป็นวัน นั่งฟังกันจนตาปรือ นั่งฟังกันหลับจนอ่อนอกอ่อนใจ ท่านจะได้อะไรบ้างไหม เลยกลายเป็นคนรู้มาก แต่เสียดายที่ไม่รู้จริง คนรู้มากมีเยอะ พูดตรงไหนรู้หมด ญาณโน้นญาณนี้รู้หมด แต่ตัวเองไม่มีแม้แต่ญาณเดียว เรียกว่ารู้มาก ไม่ใช่รู้จริง รู้จริงต้องทำ รู้จำต้องท่อง รู้แจ้งถึงจิต มีสติสัมปชัญญะควบคุมจิตอยู่ตลอดเวลาถึงจะรู้จริง การเจริญพระกรรมฐานต้องการความจริงใจ ต้องการจะรู้ว่าเราน่ะเป็นคนจริงไหม เราจะเข้าข้างตัวเองเสมอว่าเราเป็นคนดี ไม่มีใครบอกว่าตัวเองเป็นคนชั่ว เราจะทราบได้จากการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าท่านมาแต่ฟังเขาบรรยาย ไม่ได้ปฏิบัติ ฟังเขาพูดญาณกัน รู้ถึงญาณ ๑๖ เดินจงกรมถึงระยะ ๖ มันก็รู้มากไปอย่างนั้น แต่ไม่รู้จริงที่จะแก้ไขกรรม เพราะความตื้นลึกหนาบางของกฎแห่งกรรมอยู่ในตัวท่านมาก ครั้งอดีตชาติมาท่านสร้างเวรกรรมตามสนองมีอะไรบ้าง ท่านจะมิทราบเลยถ้ามัวแต่ฟัง
การเจริญพระกรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอกของพระพุทธเจ้านี้ไม่ค่อยมีใครสอน การเจริญพระกรรมฐานต้องการเจริญมรรค ๘ ได้แก่ เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรานั่งเจริญภาวนากัน แล้วหาเหตุที่มาของกรรม คือ ทุกข์ เราจะพบ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ อริยสัจ ๔ ทุกข์เกิดขึ้นแล้วเราก็หาเหตุของทุกข์ได้ และเราจะแก้ไขทุกข์ด้วยตรงเหตุนั้น ต้องแก้ให้ถูกจุด เกาให้ถูกที่คันจะได้หายคัน เปรียบเทียบให้ท่านเข้าใจ ถ้าเราพบพระแล้ว จะขยันหมั่นเพียรเรียนหนังสือ จะขยันหมั่นเพียรประกาบอาชีพการงาน จะกระตือรือร้นในการสร้างความดีขึ้นมา และท่านจะไม่เบียดเบียนทรัพย์สินเงินทอง จะไม่ขี้โกงขี้เม้มแต่ประการใด เพราะมีพระประจำจิตประจำใจแล้วมันเกิดแสงสว่าง

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

พระเครื่องเบญจภาคี ชุด พระสมเด็จวัดระฆัง

ประวัติการสร้าง พระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
การ สร้างพระเครื่องไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย
ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวนมากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการ ยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของพระสมเด็จเป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบและย่อมาจากองค์พระประธานจากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่า นั้น ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวาองค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์ สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป) และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลยก็ตามทีต้อง ยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย  นอกจากรูปแบบอันงดงาม ของพระสมเด็จดังกล่าวแล้ว ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่องอันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วคง จะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง ซึ่งมีผู้กล่าวเล่ากันฟังอย่างน่าศรัทธาในความเป็นปราชญ์ของท่าน ดังสดับรับฟังมาขอถ่ายทอดสู่ท่านผู้อ่านดังนี้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
วัดระฆังโฆสิตาราม
 ผู้เป็นอมตเถระ  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตารา  บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ใน ขณะที่ท่านยังเป็นเด็กนอนแบเบาะอยู่นั้น มารดาได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง แต่พอท่านจำเริญวัยพอนั่งยืนได้ มารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งสถาน ที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับประวัติชีวิตของท่านนั้น ท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้หลายองค์ เช่น สร้างพระพุทธไสยาสน์ ที่วัดสะตือ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้าง พระมหาพุทธพิมพ์ ที่วัดไชยโย อำเภอไชยโย จังหวัดอ่างทอง และสร้างพระศรีอาริยเมตไตรย ไว้ที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เป็นต้น  สมัยเมื่อท่านยังเป็นเด็ก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้เรียนหนังสือในสำนักของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) วัดอินทรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดบางขุนพรหมนอก ส่วนวัดบางขุนพรหมในก็คือวัดบางขุนพรหมในปัจจุบันนี้ พออายุได้ ๑๒ ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี  เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้เข้ามาศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตารามแล้ว ปรากฏว่า การศึกษาของท่านได้รับการชมเชยจากพระอาจารย์อยู่เสมอว่า ความจำความเฉียวฉลาด ปราดเปรื่อง ปฏิภาณไหวพริบของท่านนั้นเป็นเลิศหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ท่านเรียนรู้พระปริยัติธรรม ได้อย่างที่เรียกว่า รู้แจ้งแทงตลอด นอกจากท่านจะได้ ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังโฆสิตารามแล้ว ท่านยังได้ไปฝากตัวศึกษา ทางด้านปริยัติและด้านปฏิบัติกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน ณ วัดมหาธาตุ  นอกจากทางด้านปริยัติท่านจะได้ศึกษาอย่างรู้แจ้งรู้จบแล้ว ท่านยังได้หันไปศึกษา ทางด้านปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสารกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน อาจารย์รูปหนึ่งทางด้านปริยัติธรรมของท่าน ซึ่งในขณะนั้นท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังทางปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว อาจารย์ทางด้านวิปัสสนาธุระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนอกจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน แล้งก็มีเจ้าคุณอรัญญิก วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม โดยเฉพาะสมณศักดิ์อรัญญิก ซึ่งแปลว่าป่า ย่อมจะเป็นที่แจ้งชัดแล้วว่าท่านเป็นผู้ชำนาญทางปฏิบัติ เพราะตำแหน่งนี้ เป็นตำแหน่งของด้านวิปัสสนาธุระอยู่แล้ว ยังมีเจ้าคุณบวรวิริยเถร วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู และท่านอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี ผู้โด่งดังทางด้านปฏิบัติและเก่งกล้าทางพุทธาคมอีกด้วย โดยที่สามเณรโต ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ และไม่มีความทะเยอทะยานในลาภยศสรรเสริญ ทั้งๆที่ท่านเป็นผู้ที่เรียนรู้ในพระปริยัติธรรมและมีความเชี่ยวชาญถ่องแท้ ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี แต่สามเณรโตท่านก็หาได้เข้าสอบเป็นเปรียญไม่  นอกจากท่านจะมีความเชี่ยวชาญในด้านปริยัติธรรมดังกล่าวแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการเทศน์ได้ไพเราะและมีความคมคายที่จับจิตจับใจท่าน ผู้ฝังมาแต่ครั้งท่านเป็นสามเณรอยู่ก่อนแล้วเรื่องนี้เป็นที่เล่าลือขจร ขจายไปทั่วทิศและด้วยเหตุสามเณรโตเป็นนักเทศน์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๒) ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปราณเป็นอย่างมาก ถึงกับพระราชทานเรือกัญญาหลังคากระแชงไว้ให้ใช้ และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระเมตตาสามเณรโตไม่น้อยเหมือนกัน ทรงโปรดให้สามเณรโตเป็นนาคหลวงและอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย  ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้งในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เป็นพระราชาคณะ แต่ทว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้ทูลขอตัวเสีย ด้วยเหตุที่กลัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานสมณศักดิ์ ให้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้ถือธุดงควัตรไปตามจังหวัดที่ห่างไกลเป็นการเร้นตัวไปในที
สืบต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) โปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ในคราวนี้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯไม่ขัดพระราช ประสงค์ อาจจะเป็นด้วยท่านชราภาพลงมากคงจะจาริกไปในที่ห่างไกลไม่ไหวแล้ว เพราะตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) พระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมกิติ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ นั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีเข้าไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นพระองค์ท่านได้ทรงผนวชมาแต่พระชนมา ยุได้ ๒๑ พรรษา และได้ทรงศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ ณ วัดราชาธิวาส จนจบสิ้นตำรับตำรา ทรงมีความรอบรู้อย่างแท้ จนไม่มีครูบาอาจารย์รูปอื่นใดจะสามารถอธิบายให้กว้างขวางต่อไปได้อีก จึงได้ทรงระงับการศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระไว้เพียงนั้น พอออกพรรษาก็เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุก็ทรงหันมาศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรม โดยได้เริ่มศึกษาภาษาบาลีเพื่ออ่านและแปลพระไตรปิฎก ทรงค้นคว้าหาความรู้โดยลำพังพระองค์เอง ทรงขะมักเขม้นศึกษาอยู่ (๒) ปี ก็รอบรู้ภาษาบาลีอย่างกว้างขวาง ผิดกับผู้อื่นที่ไม่เคยศึกษามา
เมื่อ กิตติศัพท์ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เสด็จฯเข้าแปลพระปริยัติธรรมถวายตามหลักสูตรเปรียญในเวลา นั้นพระองค์ทรงแปลอยู่ ๓ วัน ก็ปรากฏว่าแปลได้หมดจนจบชั้นเปรียญเอก จึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ๙ ประโยคให้ ทรงถือเป็นสมณศักดิ์ต่อมา  ฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงเข้าทำนองปราชญ์ย่อมเข้าใจ ปราชญ์
ด้วย เหตุฉะนี้กระมังพระองค์จึงโปรดและมีพระมหากรุณาธิคุณต่อท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต ) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพิเศษ บางโอกาสแม้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะแสดงข้ออรรถข้อธรรมอันลึกซึ้งที่ขัดพระทัยอยู่บ้างก็ทรงอภัยให้เสมอ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อออกพรรษาเป็นเทศกาลทอดกฐินพระราชทาน พระองค์ทรงโปรดให้อารามหลวง ในเขตกรุงเทพมหานครจุดการตกแต่งเรือเพื่อการประกวดประชันในด้านความงามและ ความคิด
เมื่อขบวนเรือประกวดล่องผ่านพระที่นั่งเป็นลำดับๆซึ่งล้วนแต่ตกแต่งด้วยพันธุ์บุปผานานาชนิดสวยงามยิ่งนัก  ครั้นมาถึงเรือประกวดของวัดระฆังโฆสิตารามเท่านั้น เป็นเรือจ้นเก่าๆลำหนึ่ง ที่หัวเรือมีธงสีเหลืองทำขึ้นจากจีวรพระ มีลิงผูกอยู่กับเสาธง ที่กลางเรือมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนอนเอกเขนกอยู่เท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นเท่านั้นก็เสด็จขึ้นทันที แล้วตรัสว่า ขรัวโตเขาไม่ยอมเล่นกับเรา แต่ก็ทรงทราบด้วยพระปรีชาว่า การที่ขรัวโตประพฤติเช่นนั้นทำเป็นปริศนาให้ทรงทราบว่า ความจริงแล้วพระสงฆ์องค์เจ้าอย่างท่านนั้นไม่ได้สะสมทรัพย์สินเงินทองแต่ อย่างใด มีเพียงอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จะจัดหาสิ่งของเอามาตกแต่งเรือให้สวยงามได้อย่างไร คงมีแต่จีวรที่แต่งแต้มสีสันกับสัตว์เลี้ยงคือลิงที่มักแลลิ้นปลิ้นตา ดังวลีที่ว่าการกระทำเช่นนั้นความจริงแล้วมันเหมือนกับทำตัวเป็น ลิงหลอกเจ้า นั่นเองแต่พระองค์ก็ทรงอภัยโทษหาได้โกรธขึ้งไม่ การกระทำเช่นนั้น ถ้าเป็นบุคคลอื่นคงจะหัวขาดเป็นแน่  เรื่องอันน่าสนใจใน พระเดชพระคุณเจ้ารูปนี้ยังมีที่น่าขำขันอีกมากมาย แต่ในเรื่องราวเหล่านั้นท่านได้สอดแทรกคติธรรม ปริศนาธรรมอย่างลึกซึ้งให้เราท่านได้ขบคิดและน่าจะได้ใคร่ครวญสืบต่อไป
ถึง แม้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) จะประพฤติปฏิบัติตามความพอใจของท่าน ไม่ถือความนิยมของผู้อื่น จึงมีเรื่องเล่าถึงการที่ท่านปฏิบัติแปลกๆมากมาย แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร ๔) ก็ทรงพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯอยู่เสมอมา เข้าทำนองนักปราชญ์ย่อมเข้าใจในการกระทำของนักปราชญ์ฉะนั้น ประการหนึ่ง และยิ่งกว่านั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ซึ่งมีความ เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ คันถธุระ ขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้นแล้ว ในวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ก็เยี่ยมยอด  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (ร ๕) ทรงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์อย่างเจนจัดเชี่ยวชาญ ผูกดวงชะตาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผูกไว้ให้แก่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวงศ์วโรปการ ถือเป็นหลักในวิชาพยากรณ์
ดวงชะตาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯมีดังนี้
อาทิตย์ เป็นศรี เป็นมหาอุจจ์กุมลลัคนาบรรลุความสำเร็จสูงสุดทั้งเกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นผู้มีอารมณ์ขัน เพราะสมาสัปต์กับศุกร์ลัคนา เกาะปัญจมะนวางค์ อาทิตย์ (ศรี) ทุติยตรียางคอาทิตย์ (ศรี) เสวยภรณีฤกษ์ที่ ๒ ประกอบด้วยมหัธโนแห่งฤกษ์  จะเป็นด้วยราหูเป็นอายุ เป็นมหาอุจจ์ และเพราะสมาสัปต์กับศุกร์ จึงทำให้เจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นผู้มีอารมณ์ขันหรืออย่างไรก็เหลือเดา จึงมีเรื่องที่แสดงถึงความเป็นผู้มีอารมณ์ขันของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯอยู่ เสมอ  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามธนบุรี ท่านเป็นผู้ทรงคุณวิเศษหลากหลายประการด้วยกัน ดังได้กล่าวไปบ้างแล้วนั้น มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯกับหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหารบางขุนพรหม ท่านทั้งสองได้เดินผ่านพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งช่างได้ทำการบูรณะโดยการโบกปูนปิดฐานพระเจดีย์ที่ชำรุดให้คงสภาพดี เหมือนเดิม บังเอิญภานในพระเจดีย์ที่โบกปูนปิดช่องลมที่ฐานพระเจดีย์นั้นมีคางคกสองตัว ติดอยู่หาทางออกไม่ได้ต่างดิ้นทุรนทุราย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านทราบด้วยตาทิพย์ ท่านจึงเอ่ยถามหลวงปู่ภูซึ่งท่านก็ได้ตาทิพย์เช่นกัน ท่านจึงตอบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯไปว่า คางคกสองตัว ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงให้หลวงปู่ภูเอาคางคกที่ติดอยู่ภายในฐานพระเจดีย์ ออกมาโดยการทุบตรงที่โบกปูนนั้น  จากพฤติกรรมดังกล่าวแล้วนั้น แสดงว่าทั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จและหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหารผู้ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯล้วนแต่ทรงคุณวิเศษ ทั้งคู่ นั่นย่อมหมายความว่า ท่านสำเร็จอภิญญา คือความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา
ในบรรดาพระอาจารย์ผู้สำเร็จวิชาสตรโสฬสและทรงคุณวิเศษดังกล่าวแล้ว นั้นมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ รวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง ท่านจึงสามรถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ตลอดจนคุณวิเศษต่างๆได้นานัปการนอกจากนั้น ท่านยังเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต บางครั้งบางโอกาสท่านอาจจะทำเป็นโง่แบบเถรตรงจนเกินไปก็มี  คราวหนึ่งพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เมล็ดพระศรีมหาโพธิ์มาจากพระพุทธคยาทรงเพาะขึ้นแล้วมีรับสั่งให้ส่งต้น พระศรีหาโพธิ์ที่เพาะขึ้นนั้นไปปลูกตามพระอารามหลวง เจ้าพนักงานได้มีใบบอกไปตามวัดต่างๆให้มารับไป เจ้าอาวาสทั้งหลายได้มารับเอาไปปลูก โดยเอาเรือจ้างบ้าง เรือถ่อบ้าง มารับเอาไป ส่วนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านไม่ยอมไปรับ กลับมีลิขิตตอบไปว่า ท่านไปรับไม่ได้เกรงจะเป็นการดูหมิ่นต่อเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ควรบอกเจ้าหน้าที่นำเรือกัญญาไปรับต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วมีเรือตั้งนำเชิญไปพระราชทานตามวัด จึงจะสมควรแก่เกียรติยศ เจ้าหน้าที่ได้นำลิขิตของขรัวโต ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงกรุณาโปรดเกล้าฯว่า ถูกของท่าน พวกเจ้ามักง่าย  ด้วยเหตุนี้บรรดาวัดต่างๆที่รับต้นศรีมหาโพธิ์ไปแล้ง ต้องนำมาส่งคืน เจ้าพนักงานต้องเชิญต้นศรีมหาโพธิ์ลงเรือกัญญา มีเรือขบวนแห่ไปส่งตามพระอารามหลวงจนทั่วกัน  ด้วยภูมิอันฉลาดแหลมคม ตลอดจนความเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งได้รับคำยกย่องว่าท่านเป็นเอตทัคคะรูปหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี บางโอกาสท่านจึงได้แสดงพฤติกรรมบางอย่างบางประการออกไปในทางพิลึก พิเรนทร์ที่มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาๆเขาไม่นิยมกระทำกัน แต่ทว่าท่านกลับเป็นผู้กระทำเสียเอง แต่ถ้าดูกันอย่างผิวเผิน จักเห็นว่าท่านเป็นคนสติเฟื่องจึงกระทำเรื่องบ๊องๆ เช่นนั้น แต่ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้ให้ถึงซึ่งความเป็นจริงและเป็นสัจ ธรรมคำสอนตามพุทธธรรมในพุทธองค์แล้ว การกระทำของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้สอดแทรกแก่นแท้ของหลักธรรมเอาไว้ทั้งสิ้น อย่างเช่น ในกรณีที่พระลูกวัดของท่านสองรูปที่กำลังทะเลาะกันอย่างรุนแรงถึงขั้นจะลง มือลงไม้กันทีเดียว ถ้าท่านเป็นเจ้าอาวาสก็จะเข้าไปห้ามปรามนั้นเป็นเรื่องธรรมดาแต่ทว่าท่าน รีบขวนขวายหาดอกไม้ธูปเทียน แล้วรีบไปหาสองพระลูกวัดที่กำลังทะเลาะกันอยู่นั้น พร้อมกับก้มลงกราบ แล้วพูดว่า ท่านทั้งสองเก่งมาก อาตมากลัวแล้ว ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย
พระภิกษุทั้งสองรูปเมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นก็ต้องเลิกรากันในทันที แล้วรีบคุกเข่ากราบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และและแทนที่ท่านจะดุว่าพระทั้งสองแม้สักคำน้อยก็หาไม่ ท่านกลับว่า ที่ท่านทั้งสองทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น เพราะอาตมาปกครองท่านไม่ดีต่างหาก หาได้เป็นความผิดของท่านทั้งสองไม่ ท่านเคยได้พบเห็นหรือท่านเคยได้ยินพฤติกรรมอย่างนี้มีที่ไหนบ้าง  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านได้นำหลักธรรมคำสอนที่ว่าด้วย ชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ เวรระงับด้วยการไม่จองเวร ทำนองนี้  นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจะได้สร้างปูชนียวัตถุดังกล่าวแล้ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะอันบริสุทธิ์ ของชาวไทยเราอีกด้วยและโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม  เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตาม คัมภีร์บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง  นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตรและอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะ ไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ
ส่วนตัวประสานหรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆกันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตา รามมีความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน  สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง อาจจะพูดได้ว่าเป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเองอย่างบริสุทธิ์ หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์ (อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว  ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบ อย่างมาจากพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย
เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง  พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม
การสร้างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
...เป็น ที่ค่อนข้างจะเชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ท่านสร้างสมเด็จวัดระฆังของท่านไปเรื่อยๆจนท่านอาจจะมีการดูฤกษ์เป็นกรณี พิเศษ แล้วท่านก็สร้างขึ้นมาท่านมีกำหนดว่าจะสร้างกี่องค์ ท่านก็สร้างขึ้นมา แต่มั่นใจว่าท่านไม่ได้สร้างครั้งละมากๆเพื่อแจกไว้นานๆ
...วัน ไหนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯกำหนดจะสร้างพระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯก็จะเอาปูนเอาส่วนผสมต่างๆมาตำได้เนื้อพระสมเด็จมา ก้อนหนึ่ง แล้วปั้นเป็นแท่งสี่เหลียม ตัดออกเป็นชิ้นๆ ในสมัยก่อนเรียกว่า ชิ้นฟัก
...แล้วนำเนื้อสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวนกดเนื้อพระกับแม่พิมพ์ให้แน่นนำเอาไม้แผ่นมาวางทับด้าน หลังของพระสมเด็จวัดระฆัง แล้วใช้ไม้หรือของแข็งเคาะที่ไม้ด้านหลังเพื่อไล่ฟองอากาศและกดให้เนื้อพระ สมเด็จแน่นพิมพ์
...จึงจะเอาไม้แผ่นด้านหลังออกจึงปรากฏรอยกระดานบ้าง รอยกาบหมากบ้างบนด้านหลังขององค์สมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นจุดสำคัญและเป็นหัวใจของการดูพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
...เมื่อ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้กดพระบนพิมพ์เรียบร้อยแล้วท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัด ตอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯไม่ใช้มีดเพราะเป็นพระไม่ควรใช้ของมีคม วิธีตัดตอกนั้นตัดจากด้านหลังไปด้านหน้าโดยเข้าใจว่าในแม่พิมพ์พระสมเด็จ ที่เป็นหินชนวนนั้น จะบากเป็นร่องไว้สำหรับนำร่องการตัดตอก
...เพราะพระสมเด็จวัดระฆัง บางองค์ที่ขอบมีเนื้อเกินจะเห็นเส้นนูนของร่องไว้ให้สังเกต การตัดตอกพระสมเด็จวัดระฆัง จากด้านหลังไปด้านหน้าจึงเกิดร่องรอยปรากฏที่ด้านข้างขององค์พระและรอยปริ แตกขององค์พระด้านหลังที่ลู่ไปตามรอยตอกที่ลากลงร่องรอยต่างๆ
...เมื่อผ่านอายุร้อยกว่าปีมาแล้ว การหดตัวขององค์พระสมเด็จฯ การแยกตัวของการปริแตกตามรอยตัด กลายเป็นตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่สำคัญที่สุด
...เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้กดพิมพ์สร้างพระสมเด็จฯจนหมดเนื้อแล้วก็ คงหยุด คงไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต นำมาสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง แน่นอนที่สุด อันดับแรก ประกอบด้วยปูนเปลือกหอย คือเอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว
...ในสมัยก่อนมีปูนเปลือกหอยมาก แต่ปัจจุบันหาไม่ค่อยมีแล้ว อันดับสอง คือส่วนผสมของน้ำมัน ตังอิ๊ว เพราะเคยเห็นมากับตาเวลาพระสมเด็จวัดระฆัง ชำรุดหักจะเห็นเป็นน้ำมัน
ตังอิ๊ว เยิ้มอยู่ข้างในเนื้อพระเป็นจุดๆ
...อันดับที่สาม มีปูนอีกชนิดหนึ่งเขาเรียกว่า ปูนหิน มีน้ำหนักมากไม่ทราบว่าทำมาจากอะไร ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตว่าตามโรงงิ้วพวกงิ้วจะเอาแป้งจากปูนหินสีขาวๆมาพอก หน้า เป็นพื้นแล้วจะติดแน่น
...เอาเนื้อสามส่วนนี้เป็นหลักมาผสมกัน ยังมีมวลสารชนิดหนึ่งเป็นเม็ดสีเทาๆมองเหมือนก้อนกรวดสีเทา แต่ไม่ใช่ เพราะเนื้อนิ่มเวลาเอามีดเฉือนจะเฉือนเข้าง่าย จึงไม่ทราบว่าเป็นมวลสารอะไร
...และเคยเจอผ้าแพรสีเหลืองเข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูปแล้วเวลา เก่าหรือชำรุดแทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูปมีผู้คนกราบไหว้มากมายไปทิ้ง
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้ แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
...ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมดเมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง
...นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง
...วัสดุอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือมีเม็ดแดงเหมือนอิฐผสมอยู่ในเนื้อของ พระสมเด็จวัดระฆัง เม็ดแดงนี้ขอยืนยันได้เลยว่า เป็นเศษเนื้อพระซุ้มกอตำให้ละเอียดแล้วผสมไว้กับมวลสารที่จะสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
...เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมีเม็ดพระธาตุมาก จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล
...จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว ไม่กลืนกันภายหลังแยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง
...แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่าอาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทองให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาเป็นร้อยเป็นพันปี
...บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย จึงต้องลอกเอาปูนขาวออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ให้พระสมบูรณ์ เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชาในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบันอายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น
...วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆเม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆัง แท้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียนเป็นตัวอักขระบนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง
ที่มา : http://angsila.cs.buu.ac.th/~it471452/phrathai/page2-5.html

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

พระเบญจภาคี

พระเบญจภาคี คือ พระเครื่อง 5 ชนิด ที่ถือ ว่าเป็น สุดยอดและล้ำค่าเป็นอย่างมากของพระเครื่องได้แก่ พระสมเด็จ พระนาง พญา พระกำแพง พระผงสุพรรณ และพระรอด เหตุผลที่กล่าวว่าสุดยอด ในบรรดาพระเครื่องด้วยกันก็เพราะว่า เป็นพระ เครื่องที่มีอายุ เก่าแก่มากกว่า หลายร้อยปี พิมพ์นิยมสวยงาม ที่สำคัญที่ สุดคือ ทุกคนเชื่อถือในความศักด์สิทธ์ทางด้านพุทธคุณ เป็นอย่างมาก ทำให้ เป็นที่ต้องการ ของนักสะสมพระเครื่องเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีราคาสูงมากๆชนิด ว่าคนจนหมดสิทธ์เป็นเจ้าของ
1.พระสมเด็จวัดระฆัง ผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นพระเครื่องทีมีอายุการสร้างน้อยที่สุด ในบรรดาเบญจภาคีด้วยกัน พระ สมเด็จวัดระฆัง สร้างในสมัยรัชกาลที่4 ที่วัดระฆังโฆษิตา ราม กรุงเทพฯ “สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่” จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่อง ตลอดกาล หรือ “จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง” อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนา ที่ จะได้ไว้ในครอบครองของ บรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้ง หลาย จัดได้ว่า เป็นของล้ำค่าชิ้นหนึ่งทีเดียว เหตุที่สร้างขึ้นมาก็เพื่อ เป็นการสืบทอดพระศาสนาตามเยี่ยงโบราณกาล นอกจากนี้ยังมี พระสมเด็จวัดบางขุน พรหม ,พระสมเด็จวัดเกศไชโยวรวิหาร ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน
” พุทธคุณ เมตตามหานิยม,แคล้วคลาดภัยภิบัติ,คงกระพัน,โชคลาภ”
2.พระนางพญา สร้างที่วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นวัดที่ ประดิษฐานพระพุทธชินราชที่สำคัญยิ่งและเป็นพระคู่บ้านคู่ เมือง พระนาง พญา ปีที่สร้างไม่ปรากฎแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า สร้างประมาณปี พ.ศ.2112 จาก หลักฐานที่พบหลังกรุแตก ออกมาเป็นครั้งแรกโดยธรรมชาติ อย่างมากมาย ผู้ที่ สร้าง ไม่ปรากฎแต่จากหลักฐานกรุที่บรรจุพระนางพญา สร้างแบบลังกาทำให้เชื่อ ว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระวิสุทธิกษัตริย์ ผู้ปกครองเมืองสอง แควขณะนั้น เหตุที่สร้างก็เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการสืบพระพุทธศาสนาตาม คตินิยมมาแต่โบราณกาล นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบอีกหลายที่ เช่นที่ใต้ฐาน โบสถ์วัดสังข์กระจายใน กทม. และ กรุวังหน้าในโรงละครแห่งชาติ
พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา และเป็นสวัสดิมงคล
3.พระกำแพง กำเนิดที่พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร จากตำนานกล่าว ไว้ว่าผู้สร้างคือฤาษี 3 องค์ สร้างถวายแก่ พระยาศรีธรรมาโศกราชผู้ปกครอง บ้านเมืองขณะนั้น เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งของเมืองกำแพงเพชรมาช้า นาน เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1900 พระกำแพงซุ้มกอ เหตุที่พบ เมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตฯ แห่งวัดระฆัง ขึ้นมาเยี่ยมญาติในเมือง กำแพงเพชร ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกไทยโบราณที่มีอยู่ ที่วัดเสด็จฝั่งเมือง กำแพงเพชรได้ความว่ามีพระเจดีย์ โบราณบรรจุพระบรมธาตุ อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่ง ตะวันตก 3 องค์ และชำรุดอยู่ พระยากำแพงเพชร(น้อย)เป็นเจ้าเมืองในขณะ นั้น ได้ทำการค้นหาจนพบและได้รื้อเพื่อปฎิสังขรณ์จึงพบกรุพระกำแพงสกุลต่างๆ จำนวน มาก
“พุทธคุณ โภคทรัพย์,มหานิยม”
4.พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ สร้างไม่ปรากฎแน่ชัดแต่จากตำนานเล่าว่า สร้างมาจากฤาษี 4 องค์ เหตุที่สร้าง ก็ไม่ชัดแจ้งได้แต่สันนิษฐานกันไปต่างๆนา พระผงสุพรรณ ได้ถูกค้นพบในปี พ .ศ.2456 ผู้พบเป็นคนแรกชื่อ ลุงเจิม อร่ามเรือง นักขุดพระ หาสมบัติชื่อดัง ในสมัยนั้น ได้ขุดเจอที่พระอารามเก่าแก่ที่ถูกทอดทิ้งรกร้างมาเป็นเวลา นาน นั่นก็คือกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ใน ปัจจุบันนี้
“พุทธคุณ โภคทรัพย์,มหานิยม,คงกระพัน,เสน่ห์”
5.พระรอด ชื่อเดิมคือ พระนารทะ (ชื่อฤาษีผู้สร้าง)จุดเด่นคือมีอายุ เก่าแก่ที่สุดในบรรดาพระเครื่อง สร้างประมาณปี พ.ศ.1223 เป็นพระเครื่องสุด ยอดของจังหวัดลำพูน พระรอดลำพูน ตำนานกล่าวว่าสร้างในสมัยทวาราวดีมีอายุนับ พันปีมาแล้วในสมัยพระนางจามเทวี ปกครองเมือง ชื่อเดิมคือเมืองหริภุญ ไชย ปัจจุบันคือจังหวัดลำพูน เหตุที่สร้าง เมื่อพระนางจามเทวีได้ทรงสถาปนา พระอาราม ชื่อ จตุรพุทธปราการ (วัดมหาวัน) ขึ้นจึงได้ดำริให้สร้าง พระ เจดีย์ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรจุ พระรอด โดยพระสุมณานารทะฤาษี เป็นผู้ สร้าง สถานที่พบคือวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พบเป็นครั้งแรก ในระหว่างปี พ. ศ.2435-2445 ในสมัย เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ก็เพราะว่าได้มีการปฎิสังข รพระเจดีย์วัดมหาวัน เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมามาก โดยการสร้าง สวมครอบองค์เดิมลงไป ระหว่างที่โกยเศษที่ปรักหักพัง ที่กองทับถมกันอยู่ เพื่อนำไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด ได้พบพระรอดเป็นจำนวน มาก หลังจากนั้นได้มีการพบพระรอดอีกหลายครั้งภายในบริเวณวัดมหาวัน
“พุทธคุณ เด่นทางแคล้วคลาด,คุ้มภัย”

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี

วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี ตั้ง อยู่ที่อำเภอปากเกร็ด มีชื่อเดิมว่า "วัดสว่างอารมณ์" สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะในคราวที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหารเสด็จไปตรวจวัดสว่างอารมณ์ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงในวัด ชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันว่า "วัดสะพานสูง" จนติดปาก จึงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสะพานสูง" มาจนทุกวันนี้ประชาชน ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและนักเลงพระเครื่องทั่วประเทศต่างรู้จักวัดนี้ เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะพระเครื่องและตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยมซึ่งเป็นที่เลื่องลือในพุ ทธานุภาพอย่างยิ่ง ท่านสร้างพระปิดตาและตะกรุดมหาโสฬสมงคลไว้หาชมได้ยากในปัจจุบัน
ข้อมูลประวัติ
เกิด                         วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีฉลู พ.ศ.2358  เป็นบุตรของ นายนาค  นางจันทร์
พื้นเพเป็นชาวบ้านแหลมใต้  คลองพระอุดม  ปากเกร็ด  นนทบุรี
อุปสมบท               อายุ 22 ปี  ตรงกับ พ.ศ.2381  ณ พัทธสีมาวัดบ่อ
มรณภาพ               วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2438
รวมสิริอายุ            80 ปี 59 พรรษา
หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ( อ่านว่า ปะถะมะนามะ หรือ ปถมนาม ) เกิดในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2359 เป็นบุตรนายนาค นางจันทร์ โดยมีพี่น้องท้องเดียวกัน รวมด้วยกัน 4 คน คือ
1. หลวงปู่เอี่ยม
2. นายฟัก
3. นายขำ
4. นางอิ่ม
บ้านเกิดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ ที่ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ อายุท่านได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่คิดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) ท่านอุปสมบท ได้ประมาณหนึ่งเดือน ท่านก็ได้ย้ายไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรีซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะ พระนคร หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้อยู่ได้ถึง ๗ พรรษาท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ อยู่วัดประยูรวงศาวาสได้ ๓ พรรษา ถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๙๑ นายแขก สมุห์บัญชีได้นิมนต์หลวงปู่เอี่ยม ไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นเริ่มแรก และได้ศึกษาอยู่ ๕ พรรษา ถึงปี ๒๓๙๖ ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางมา อาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยม กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูง ในปัจจุบันนี้
สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้น มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้)
ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่เอี่ยม มาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ที่วัดนี้มีพระประจำวันพรรษาอยู่เพียง ๒ รูปเท่านั้นขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ ๘ เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่เอี่ยมได้ ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรมเนื่องจากสถานที่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติ ท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยไรหาเงินมา เพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น จึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหลวงปู่เอี่ยม ได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก
เพื่อ เป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและ ถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระเจดีย์ฐาน ๓ ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมรโดยมีลูกวัดติดตามไปด้วยเสมอ แต่ท่านจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๖-๗ ชั่วโมง แล้วจะนัดกันไปพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านลวงปู่เอี่ยม ได้ไปพบชีปะขาวชาวเขมรท่านหนึ่งชื่อว่าจันทร์หลวงปู่เอี่ยม จึง ได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ไปได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปีจึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยม ทราบในญาณของท่านเอง และท่านหลวงปู่เอี่ยม จึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยม ได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้ปลงผม ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หมวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านหลวงปู่เอี่ยม มาด้วย อาทิเช่น หมี, เสือ, และงูจงอาง ฯลฯจากการเจริญกรรมฐานนี้ จึงทำให้หลวงปู่เอี่ยมสำเร็จ "โสรฬ"  มีเรื่องเล่ากันว่ามีต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีน้ำมันตกและดุมากเป็นที่เกรงกลัว แก่ชาวบ้านแถบนั้น หลวงปู่จึงช่วยยืนเพ่งอยู่ 3 วันเท่านั้น ต้นตะเคียนก็เฉาและยืนต้นตาย หลวงปู่เป็นผู้มีอาคมฉมัง วาจาสิทธิ์ มักน้อยและสันโดษ ท่านเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้คือพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ จึงเป็นที่มาของการสร้างพระปิดตา และตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลอันลือลั่นนั่นเอง
ท่านหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระผู้มีอาคมขลัง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มักน้อย ถือสันโดษ ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่เอี่ยม ท่าน มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย ของชีวิต  ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า  “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว  ถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่ง และให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย”  ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า  “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”หลวงปู่เอี่ยมท่าน ได้มรณภาพ  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ รวมอายุได้ ๘๐ ปี บวชได้ ๕๙ พรรษาก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้มีศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นตัวแทนของชาวบ้าน และผู้เคารพนับถือศรัทธา ที่มีและไม่มีของมงคลท่านไว้บูชา กราบเรียนถามหากว่าเมื่อหลวงปู่เอี่ยม ได้มรณภาพแล้วจักทำประการใด ท่านจึงได้มีปัจฉิมวาจาว่า " มีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา"จึงเป็นที่ทราบและรู้กันว่า หากผู้ใดต้องการมอบตัวเป็นศิษย์หรือต้องการให้ท่านช่วยแล้วด้วยความศรัทธา ยิ่ง ก็ให้เอ่ยระลึกถึงชื่อของท่าน ท่านจะมาโปรดและคุ้มครองและหากเป็นเรื่องหนักหนาก็บนตัวบวชให้ท่าน รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่เอี่ยม ท่านประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ สร้าง(หล่อ) ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2480 ในสมัยหลวงปู่กลิ่น ผู้ ปกครองวัดต่อจากท่าน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจนทุกๆวันจะมีผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศมากราบไหว้และบนบานฯ ตลอดเวลาตราบแสงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ท่านชอบกระทงใส่ดอกไม้เจ็ดสี จะมีผู้นำมาถวายและแก้บนแทบทุกวันโดยเฉพาะในวันพระแม้แต่ผงขี้ธูปและน้ำใน คลองหน้าวัดก็ยังมีความ"ขลัง" อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งและหลังจากที่ท่านมรณภาพล่วงไปเนิ่นนานแล้วก็ตามที ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผลปรากฏว่าฐานที่ท่าน เคยถ่ายทุกข์เอาไว้และปิดตาย คราวที่เกิดไฟไหม้ป่าช้า ฐานของหลวงปู่เอี่ยม เพียง หลังเดียวเท่านั้นที่ไม่ไหม้ไฟ เมื่อความอัศจรรย์ปรากฏขึ้นเช่นนั้น ผู้คนจึงค่อยมาตัดเอาแผ่นสังกะสีไปม้วนเป็นตะกรุดจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมารื้อเอาตัวไม้ไปบูชาจนไม่เหลือหรอ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ได้อะไรเลยก็มาขุดเอาอุจจาระของท่านไปบูชา
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย คือ พระปิดตา  และตะกรุด  ชนิดและขนาดต่าง ๆ ส่วนเหรียญนั้นสร้างภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว
พระปิดตา เป็น หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผง  ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน  มีทั้งประเภทเนื้อผงคลุกรักจุ่มรัก  และเนื้อผงจุ่มรัก  ส่วนผสมภายในเนื้อพระหลัก ๆ ประกอบไปด้วย ผงพุทธคุณไตรสรณคมณ์  ผงพุทธคุณอิติปิโส  ว่านเครื่องยา  ชันยาเรือ  และรัก เป็นต้น  แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ชะลูดใหญ่  หรือว่าวจุฬมใหญ่  พิมพ์ตะพาบ หรือ พิมพ์ว่าวจุฬาเล็ก  พิมพ์พนมมือ มีทั้งหน้าเดียว และสองหน้า
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม
ที่มา : http://p.moohin.com/192.shtml

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
          พระรอด เป็น นามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
 
         พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร
 
         พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
         จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย
         พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียว เท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก  เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอก พระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน
                นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนัง โพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก
          พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่         1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
         2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
         3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด
         ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์
         1. พิมพ์ใหญ่
         2. พิมพ์กลาง
         3. พิมพ์เล็ก
         4. พิมพ์ต้อ
         5. พิมพ์ตื้น

นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ
         1. สีเขียว
         2. สีพิกุล (สีเหลือง)
         3. สีแดง
         4. สีเขียวคราบเหลือง
         5. สีเขียวคราบแดง
         6. สีเขียวหินครก
         สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุก พิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจนพระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
 
         พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์ อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องปประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4 นอกจากนี้ยังมีแอกลักษณ์ ที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป และจะได้พิจารณาถึงเอกลักษณ์ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาพิมพ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด
         1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
         2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
         3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
         4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
         5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
         6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
         7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
         8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
         9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
        10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
        11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
        12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
        13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ
พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี
ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล (วัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน) มหานิยม สุดยอด !!!

เปิดตำนานเรื่องจริงยอดขุนแผนพลายกุมารอันดับ1ของทางเหนือที่เด่นเรื่องสตรีล้วนๆ ขุนแผนพลายกุมาร อันดับหนึ่งของทางเหนือครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืนลำพูนครับ ผู้นำไปใช้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
แรงเรื่องสตรีเป็นที่หนึ่ง  ที่นิยมรองลงมาเป็นของหลวงพ่อเสน่ห์ วัดเชียงขาง และ ของครูบาสุบิน ขุนแผนครูบาจันต๊ะ ท่านสร้างไว้เมื่อปี 37 เรื่องสตรีดีมากๆ ผู้ใช้ล้วนเจอประสาบการณ์เรื่องผู้หญิงทั้งนั้นครูบาจันต๊ะ ท่านสร้างของทางมหานิยมส่วนผสมหลักสร้างด้วยผงกุมารและผงวิเศษมากมาย ที่ท่านสร้างเอง และ ยังมีผงศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ ผสมด้วยที่โด่งดังคือ ขุนแผน และ ปลัดขิค ที่สร้างเพียงยี่สิบกว่าตัว ส่วนของทางเหนียว ท่านบอกว่า ท่านได้ให้ตำราครูบาชุ่มไป คือตำราสร้างตระกรุดหนังควาย ซึ่งปัจจุบันเป็นตระกรุดที่ขึ้นชื่อเรื่องเหนียวของทางเหนือ
ส่วนประสบการณ์ ของขุนแผนรุ่นนี้ เด่นมากๆ ทางเรื่องผู้หญิง ครูบาจันต๊ะ ท่านได้มรณะภาพไปแล้ว ตอนท่านมรณะได้มีผึ้งมาทำรังในโลงท่านจนเป็นที่ฮือฮาในข่าวหน้าหนังสือพิมพ์และร่างของท่านไม่เน่าเปื่อยปัจจุบันอยู่ที่วัดขุนแผนของท่านสร้างจากผงกระดูกกุมาร หรือ ผงพลายกุมารที่ท่านสร้างเองตามตำราทางเหนือ
ประสบการณ์ มีลุงลุงหลายคนไม่ย่อมเปลี่ยนพระห้อยเลย  ห้อยขุนแผน ของครูบาจันต๊ะ อย่างเดียวไม่ ยอมเปลี่ยนก็จะเปลี่ยนได้อย่างไร เล่นเอาสาว เข้าบ้านไม่ซ้ำน่าเลย ทั้งที่ไม่ใช่คนหน้าตาดี แถมยังสียงดัง พูดไม่เพราะด้วยนอกจากนี้ ก็มีหัวหน้าป่าไม้ เจ้าของร้านอาหาร และ อีกหลายท่านที่ใช้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ของท่านแรงจริงๆเรื่องผู้หญิงเท่าที่ผมทราบมาแบบว่าเปลี่ยนไม่ซ้ำก็แล้วกัน นี่แหละครับขุนแผนพลายกุมาร อันดับหนึ่งของทางเหนือ ที่ท่านสร้างจากกระโหลกพลายกุมารจริงๆดูเหมือนพระใหม่ ๆ แต่นี่แหละครับของแรงจริงๆ อย่างพราะหลวงปู่ทิมตอนออก มาใหม่ๆก็เหมือนกันคนเห็นเป็นสีขาว พระพิมพ์ใหม่ๆ ไม่คิดว่าจะดัง แล้วตอนนี้ละครับ ราคาแซงพระกรุเสียอีกครูบาจันต๊ะท่านมรณะภาพอายุแปดสิบกว่าปี เมื่อปีสี่กว่าท่านเป็นเกจิยุคเดียวกับครูบาชุ่ม โพธิโก แต่ท่านพึ่งมาสร้างพระขุนแผนเมื่อปี ๓๗ นี่เองเป็นรุ่นแรก ท่านบอกสร้างก็สร้างให้ดี ไม่ดีก็ไม่สร้างดีกว่าขุนแผนรุ่นนี้เดิมที่ดังในพื้นที่และคนที่รู้ต่อมาผู้ ไปใช้ต่างเจอประสบการณ์รื่องหญิงเป็นหลัก ท่านได้สร้างไว้สองรุ่นรุ่นสอง จะได้รับความนิยมน้อยกว่ารุ่นแรกมากดูเหมือนพระใหม่ๆ แต่ประสบการณ์นี่ซิ หลายคนเอาไปใส่ตลับทองแขวนเดี่ยวเลยนี่แหละครับ ขุนแผน พลายกุมารทางเหนือที่สร้างจากตำราโบราณของทางเหนือ

พระร่วงหลังรางปืน จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน

พระร่วงหลังรางปืน จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน พระร่วงหลังรางปืน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย จักรพรรดิพระเครื่องเนื้อชิน
จักรพรรดิ แห่งพระเครื่องเนื้อชิน ก็ต้องยกย่องให้แก่"พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งเป็นพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงที่หาได้ยากยิ่ง เนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยมากและพระที่พบจำนวนน้อยนั้นยังมีพระที่ชำรุดอีก ด้วย พระร่วงหลังรางปืนมีเอกลักษณ์ที่ด้านหลังเป็นร่องรางจึงเป็นที่มาของชื่อพระ ว่า พระร่วงรางปืนในเวลาต่อมา
พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่ถูกลักลอบขุดจากบริเวณพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเก่าชะเลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แต่เดิมพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างลพบุรี สร้างขึ้นเป็นพุทธาวาสโดยตรง ได้รับการปฏิสังขรณ์และแก้ไขดัดแปลงหลายครั้งหลายครา ทั้งในสมัยสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาได้รับการขุดโดยกรมศิลปากรครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2497
การค้นพบพระร่วงรางปืน
พระร่วงหลังรางปืนได้ถูกคนร้ายลักลอบขุดในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2499 เวลาประมาณตี 3 คณะของคนร้ายมี 4 คน ลักลอบขุดเจาะฐานพระพุทธรูปในพระวิหารด้านทิศตะวันตกขององค์พระปรางค์ และได้งัดเอาศิลาแลงออกไปประมาณ 8 ก้อน พบไหโบราณ 1 ใบ อยู่ในโพรงดินปนทรายลักษณะคล้ายหม้อทะนน หรือกระโถนเคลือบสีขาว สูงประมาณ 16 นิ้วเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ภายในบรรจุพระพุทธรูปสกุลช่างลพบุรี 5 องค์ คือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรทรงเทริด เนื้อสำริด สูง 10 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ พระพุทธรูปนั่งในซุ้มเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ และ พระร่วงรางปืน ประมาณ 240 องค์ ไหโบราณและพระพุทธรูปทั้งหมดต่อมาได้นำมาขายที่แถวๆ เวิ้งนครเกษม พระร่วงรางปืน ที่ได้ในครั้งนี้เป็นพระร่วงหลังรางปืนที่ชำรุดเสียประมาณ 50 องค์ ที่เหลืออยู่ก็ชำรุดเล็กน้อยตามขอบๆ ขององค์พระ พระที่สวยสมบูรณ์จริงๆ นับได้คงไม่เกิน 20 องค์ พระร่วงของกรุนี้เป็นพระเนื้อชินสนิมแดง ที่ด้านหลังพระร่วงกรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร่องราง เลยเป็นที่มาของชื่อ"พระร่วงหลังรางปืน" และมีบางองค์ที่เป็นแบบหลังตันแต่ พบน้อย และที่ด้านหลังของพระจะเป็นรอยเส้นเสี้ยน หรือลายกาบหมากทุกองค์
ในตอนนั้นพวกที่ลักลอบขุดเจาะได้แบ่ง พระร่วงรางปืนกัน ไปตามส่วน และนำพระร่วงรางปืนออกมาจำหน่าย เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีคนจากกรุงเทพฯ เดินทางไปเช่าหากันจนราคาพระสูงขึ้นเป็นอันมาก และพระก็ได้หมดไปในที่สุด พระร่วงรางปืน ที่พบของกรุนี้ในปัจจุบันได้แบ่งแยกออกเป็น พระร่วงหลังรางปืนพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์ฐาน ต่ำ ข้อแตกต่างก็คือที่ฐานขององค์พระจะสูงและบางต่างกัน นอกนั้นรายละเอียดจะเหมือนๆ กัน ลักษณะร่องรางของด้านหลังก็ยังแบ่งออกได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่อง รางกว้าง ที่สำคัญพระร่วงหลังรางปืนจะปรากฏรอยเสี้ยนทั้งสองแบบ
เนื้อและสนิมของพระร่วงหลังรางปืน จะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง วรรณะของสนิมออกแดงแกมม่วงสลับไขขาว สีของสนิมแดงในพระของแท้จะมีสีไม่เสมอกันทั้งองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะมีสีอ่อนแก่สลับกันไป ส่วน"พระร่วงหลังรางปืน"ของเทียมมักจะมีเสมอกันทั้งองค์ พื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม การแตกของสนิมมักแตกไปในทิศทางต่างๆ กันสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสนิมแดงของแท้ที่ขึ้นเต็มเป็นปื้นมักจะเป็นเช่นนี้