พระเบญจภาคี คือ พระเครื่อง 5 ชนิด ที่ถือ ว่าเป็น สุดยอดและล้ำค่าเป็นอย่างมากของพระเครื่องได้แก่ พระสมเด็จ พระนาง พญา พระกำแพง พระผงสุพรรณ และพระรอด เหตุผลที่กล่าวว่าสุดยอด ในบรรดาพระเครื่องด้วยกันก็เพราะว่า เป็นพระ เครื่องที่มีอายุ เก่าแก่มากกว่า หลายร้อยปี พิมพ์นิยมสวยงาม ที่สำคัญที่ สุดคือ ทุกคนเชื่อถือในความศักด์สิทธ์ทางด้านพุทธคุณ เป็นอย่างมาก ทำให้ เป็นที่ต้องการ ของนักสะสมพระเครื่องเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีราคาสูงมากๆชนิด ว่าคนจนหมดสิทธ์เป็นเจ้าของ
1.พระสมเด็จวัดระฆัง ผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นพระเครื่องทีมีอายุการสร้างน้อยที่สุด ในบรรดาเบญจภาคีด้วยกัน พระ สมเด็จวัดระฆัง สร้างในสมัยรัชกาลที่4 ที่วัดระฆังโฆษิตา ราม กรุงเทพฯ “สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่” จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่อง ตลอดกาล หรือ “จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง” อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนา ที่ จะได้ไว้ในครอบครองของ บรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้ง หลาย จัดได้ว่า เป็นของล้ำค่าชิ้นหนึ่งทีเดียว เหตุที่สร้างขึ้นมาก็เพื่อ เป็นการสืบทอดพระศาสนาตามเยี่ยงโบราณกาล นอกจากนี้ยังมี พระสมเด็จวัดบางขุน พรหม ,พระสมเด็จวัดเกศไชโยวรวิหาร ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน
” พุทธคุณ เมตตามหานิยม,แคล้วคลาดภัยภิบัติ,คงกระพัน,โชคลาภ”
” พุทธคุณ เมตตามหานิยม,แคล้วคลาดภัยภิบัติ,คงกระพัน,โชคลาภ”
2.พระนางพญา สร้างที่วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นวัดที่ ประดิษฐานพระพุทธชินราชที่สำคัญยิ่งและเป็นพระคู่บ้านคู่ เมือง พระนาง พญา ปีที่สร้างไม่ปรากฎแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า สร้างประมาณปี พ.ศ.2112 จาก หลักฐานที่พบหลังกรุแตก ออกมาเป็นครั้งแรกโดยธรรมชาติ อย่างมากมาย ผู้ที่ สร้าง ไม่ปรากฎแต่จากหลักฐานกรุที่บรรจุพระนางพญา สร้างแบบลังกาทำให้เชื่อ ว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระวิสุทธิกษัตริย์ ผู้ปกครองเมืองสอง แควขณะนั้น เหตุที่สร้างก็เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการสืบพระพุทธศาสนาตาม คตินิยมมาแต่โบราณกาล นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบอีกหลายที่ เช่นที่ใต้ฐาน โบสถ์วัดสังข์กระจายใน กทม. และ กรุวังหน้าในโรงละครแห่งชาติ
พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา และเป็นสวัสดิมงคล
พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา และเป็นสวัสดิมงคล
3.พระกำแพง กำเนิดที่พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร จากตำนานกล่าว ไว้ว่าผู้สร้างคือฤาษี 3 องค์ สร้างถวายแก่ พระยาศรีธรรมาโศกราชผู้ปกครอง บ้านเมืองขณะนั้น เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งของเมืองกำแพงเพชรมาช้า นาน เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1900 พระกำแพงซุ้มกอ เหตุที่พบ เมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตฯ แห่งวัดระฆัง ขึ้นมาเยี่ยมญาติในเมือง กำแพงเพชร ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกไทยโบราณที่มีอยู่ ที่วัดเสด็จฝั่งเมือง กำแพงเพชรได้ความว่ามีพระเจดีย์ โบราณบรรจุพระบรมธาตุ อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่ง ตะวันตก 3 องค์ และชำรุดอยู่ พระยากำแพงเพชร(น้อย)เป็นเจ้าเมืองในขณะ นั้น ได้ทำการค้นหาจนพบและได้รื้อเพื่อปฎิสังขรณ์จึงพบกรุพระกำแพงสกุลต่างๆ จำนวน มาก
“พุทธคุณ โภคทรัพย์,มหานิยม”
“พุทธคุณ โภคทรัพย์,มหานิยม”
4.พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ สร้างไม่ปรากฎแน่ชัดแต่จากตำนานเล่าว่า สร้างมาจากฤาษี 4 องค์ เหตุที่สร้าง ก็ไม่ชัดแจ้งได้แต่สันนิษฐานกันไปต่างๆนา พระผงสุพรรณ ได้ถูกค้นพบในปี พ .ศ.2456 ผู้พบเป็นคนแรกชื่อ ลุงเจิม อร่ามเรือง นักขุดพระ หาสมบัติชื่อดัง ในสมัยนั้น ได้ขุดเจอที่พระอารามเก่าแก่ที่ถูกทอดทิ้งรกร้างมาเป็นเวลา นาน นั่นก็คือกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ใน ปัจจุบันนี้
“พุทธคุณ โภคทรัพย์,มหานิยม,คงกระพัน,เสน่ห์”
“พุทธคุณ โภคทรัพย์,มหานิยม,คงกระพัน,เสน่ห์”
5.พระรอด ชื่อเดิมคือ พระนารทะ (ชื่อฤาษีผู้สร้าง)จุดเด่นคือมีอายุ เก่าแก่ที่สุดในบรรดาพระเครื่อง สร้างประมาณปี พ.ศ.1223 เป็นพระเครื่องสุด ยอดของจังหวัดลำพูน พระรอดลำพูน ตำนานกล่าวว่าสร้างในสมัยทวาราวดีมีอายุนับ พันปีมาแล้วในสมัยพระนางจามเทวี ปกครองเมือง ชื่อเดิมคือเมืองหริภุญ ไชย ปัจจุบันคือจังหวัดลำพูน เหตุที่สร้าง เมื่อพระนางจามเทวีได้ทรงสถาปนา พระอาราม ชื่อ จตุรพุทธปราการ (วัดมหาวัน) ขึ้นจึงได้ดำริให้สร้าง พระ เจดีย์ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรจุ พระรอด โดยพระสุมณานารทะฤาษี เป็นผู้ สร้าง สถานที่พบคือวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พบเป็นครั้งแรก ในระหว่างปี พ. ศ.2435-2445 ในสมัย เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ก็เพราะว่าได้มีการปฎิสังข รพระเจดีย์วัดมหาวัน เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมามาก โดยการสร้าง สวมครอบองค์เดิมลงไป ระหว่างที่โกยเศษที่ปรักหักพัง ที่กองทับถมกันอยู่ เพื่อนำไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด ได้พบพระรอดเป็นจำนวน มาก หลังจากนั้นได้มีการพบพระรอดอีกหลายครั้งภายในบริเวณวัดมหาวัน
“พุทธคุณ เด่นทางแคล้วคลาด,คุ้มภัย”
“พุทธคุณ เด่นทางแคล้วคลาด,คุ้มภัย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น